Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/998
Title: | กระบวนการบริหารงานระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอแจ้ห่ม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 |
Other Titles: | The Process of internal Quality System in Administration of the Educational Opportunity Expansion School in Jaehom District Lampang Primary Educational Service Area Office 3 |
Authors: | ชุ่มใจ, โยธกา |
Keywords: | กระบวนการบริหารงาน ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา Management process Internal quality assurance system in schools School for Expanding Educational Opportunities |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=370&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทของโรงเรียนขยายโอกาสในอาเภอแจ้ห่ม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 2) เพื่อศึกษากระบวนการบริหารงาน ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอแจ้ห่ม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ในการพัฒนาระบบบริหารงาน ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาส ในอำเภอแจ้ห่ม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3 ประชากรและกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 104 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์ การศึกษาข้อมูล และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์โดยคำนวณค่าสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาเกี่ยวกับบริบทของโรงเรียนขยายโอกาส พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่มีนักเรียน จำนวน 150-258 คน โรงเรียนตั้งอยู่ในเขตชุมชนมีการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นให้นักเรียนมีทักษะในการประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิต กระบวนการบริหารงานระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จากแบบสอบถามครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้บริหารสถานศึกษาเห็นด้วยว่ามีการดำเนินการมากทุกขั้นตอน ทุกด้าน และทุกประเด็น ผลการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ที่พบมาก คือ ครูและบุคลากร มีจำนวนจำกัดต้องรับผิดขอบงานมาก ครูและบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องไม่มีส่วนร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และปรัชญาของสถานศึกษา รวมทั้งขาดรูปแบบ วิธีการตรวจสอบทบทวนคุณภาพการศึกษาที่ชัดเจน และขาดการเผยแพร่ และเสนอรายงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้องต้นสังกัด ผู้ปกครองชุมชน สังคมข้อเสนอแนะ คือ ควรส่งเสริมให้ครู และบุคลากรในสถานศึกษาทุกคน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ควรประสานขอความช่วยเหลือจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และศึกษานิเทศก์เกี่ยวกับการวางแผนตรวจสอบทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และควรนำเสนอรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีของสถานศึกษา (SAR) ต่อสาธารณะชน ผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้นสังกัด ผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/998 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Yotaka Choomjai.pdf | Yotaka Choomjai | 4.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.