กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/965
ชื่อเรื่อง: การบำบัดกรดน้ำส้มในน้ำทิ้งจากโรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร โดยกระบวนการโคแอกกูเลชัน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Treatment of Acetic Acid Wastewater from Agro-Food Manufacturing by Coagulation Process
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ช่างทองเก่ง, สุรีพร
คำสำคัญ: การบำบัดขั้นต้น
กระบวนการโคแอกกูเลชันน้้าเสียกรดน้ำส้ม
Primary therapy
Coagulation process wastewater, acetic acid
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=434&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาการบำบัดกรดน้ำส้มในน้ำทิ้ง จากโรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร โดยใช้กระบวนการโคแอกกูเลชัน เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสม โดยน้ำเสียกรดน้ำส้มที่ ศึกษาเป็นน้ำทิ้งที่เหลือจากการดองพริก ซึ่งมีค่าความเป็นกรด และค่าซีโอดีสูงมาก คือ พีเอช 2.94 0.30 และซีโอดี 54,400 5,000 มก.ต่อล. อีกทั้งไม่สามารถวิเคราะห์ค่าบีโอดีได้เลย ผลการศึกษาประสิทธิภาพการบ้าบัดน้้าเสียกรดน้้าส้มด้วยกระบวนการโคแอกกูเลชัน โดยการทดสอบด้วยวิธี Jar test พบว่า ประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดีไม่ดีเท่าที่ควร (45%) ณ สภาวะที่เหมาะสม ได้แก่ พีเอชที่ 7.0 สารส้มที่ความเข้มข้น 2,500 มก./ล. โดยบำบัดซีโอดีจาก 54,000 มก./ล. เหลือ 30,000 มก./ล. ทั้งนี้เมื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการโคแอกกูเลชันด้วยการใช้สารส้มร่วมกับสารโพลิอิเล็กโทรไลต์ พบว่าสามารถบ้าบัดซีโอดีได้ดีขึ้นเป็น 54% ณ สภาวะที่เหมาะสม คือ พีเอชที่ 7.0 สารส้มที่ความเข้มข้น 1,500 มก./ล. ร่วมกับสารโพลิอิเล็กโทรไลต์ 100 มก./ล. เมื่อพิจารณาความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ พบว่า การใช้สารส้มเป็นสารโคแอกกูแลนท์ร่วมกับสารโพลิอิเล็กโทรไลต์มีความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์มากกว่า โดยการใช้สารส้มเป็นสารโคแอกกูแลนต์เพียงอย่างเดียวมีค่าใช้จ่ายทั้งหมดส้าหรับสารเคมี (สารส้มและ NaOH) เท่ากับ 97 บาท/ลบ.ม. ในขณะที่การใช้สารส้มเป็นสารโคแอกกูแลนต์ร่วมกับสารโพลิอิเล็กโทรไลต์ มีค่าเท่ากับ 85 บาท/ลบ.ม. นอกจากนี้ยังพบปัญหาในการใช้กระบวนการโคแอกกูเลชันในการบำบัดน้ำเสียกรดน้ำส้มนอกจากการรับมือกับตะกอนเคมีที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปแล้ว คือ ลักษณะสีของน้ำเสียที่เข้มขึ้น (สีน้ำตาล) หลังจากการปรับพีเอชด้วยสาร NaOH ซึ่งจากผลการทดสอบของคณะผู้วิจัยชี้ชัดให้ เห็นว่าน่าจะมาจากสารตกค้างจากพริก ไม่ใช้การทำปฏิกิริยาระหว่างน้ำดองกับสาร NaOH
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/965
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Sureeporn Changthongkeng.pdfSureeporn Changthongkeng4.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น