กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/936
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Associated with Alcohol Drinking Behaviors Among High School Students in Chiangkham District, Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สะเภาคำ, สุริยา
คำสำคัญ: พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
พฤติกรรมการดื่ม
จังหวัดพะเยา
Alcohol drinking behaviors
High school students
Alcoholic beverages
Drinking behavior
Phayao province
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=937&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โดยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4-6 ทุกสายการเรียน ปีการศึกษา 2558 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอเชียงคำ คือ โรงเรียนเชียงคำวิทยาคม โรงเรียนฝายกวางวิทยาคมและโรงเรียนปิยมิตรวิทยา จังหวัดพะเยา ได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางมาตรฐานของเครซี่และมอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิใช้สัดส่วน จำแนกแต่ละโรงเรียนตามสัดส่วนประชากร โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยสุ่มให้ได้ครบตามจำนวนกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 317 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยของคะแนน (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงวิเคราะห์ (Analysis Statistic) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติ (Chi-square test) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 63.72 โดยมีระดับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อยู่ในระดับปกติมากที่สุด ร้อยละ 46.69 ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน การเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเพื่อนสนิท การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของคนในครอบครัว การยอมรับการดื่มของครอบครัว การเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทัศนคติต่อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางสุขภาพ เพื่อประกอบการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา การดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นได้ถูกต้องเหมาะสมต่อไป
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/936
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Suriya Sapaokham.pdfSuriya Sapaokham2.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น