กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/935
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ต่อภารกิจที่ได้รับมอบหมายของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (อส.) จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Efficiency of Performance Assigned to Volunteer Guard of Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลอยลม, สุรสิทธิ์
คำสำคัญ: สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดพะเยา
ประสิทธิภาพ
ภารกิจ
การปฏิบัติหน้าที่
The volunteer guard of Phayao province
Efficiency
Mission
Duty
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=858&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: จากการศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ต่อภารกิจที่ได้รับมอบหมายของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน จังหวัดพะเยา โดยศึกษาจากสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนในพื้นที่จังหวัดพะเยา แบ่งเป็นกองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดพะเยาที่ 2 และกองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอจำนวน 9 อำเภอ ซึ่งการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทภารกิจของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดพะเยา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน จังหวัดพะเยา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยจูงใจกับประสิทธิภาพของการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน จังหวัดพะเยา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ต่อภารกิจที่ได้รับมอบหมายของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (อส.) จังหวัดพะเยา ในภาพรวม ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านสภาพการทำงาน ด้านความมั่นคงในงาน ซึ่งมีค่าแปลผลเท่ากันอยู่ในระดับมาก ด้านความรับผิดชอบ ซึ่งมีค่าแปลผลอยู่ในระดับมาก ด้านลักษณะงาน ซึ่งมีค่าแปลผลอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ซึ่งมีค่าแปลผลอยู่ในระดับปานกลาง และจากการทดสอบสมมติฐานการศึกษาสมมติฐานที่ 1 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดพะเยาที่มีเพศ อายุ การศึกษา ประสบการณ์ปฏิบัติงานต่างกัน มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดพะเยาในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน จะไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และสมมติฐานที่ 2 พบว่า ปัจจัยจูงใจ สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดพะเยาที่มีปัจจัยจูงใจต่างกัน มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดพะเยาในภาพรวม แตกต่างกัน
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/935
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Surasit Loylom.pdfSurasit Loylom2.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น