กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2215
ชื่อเรื่อง: สภาพการบริหารจัดการตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของผู้บริหารในโรงเรียนขยายโอกาส ศูนย์เครือข่ายการศึกษาตับเต่า 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Circumstance of Administration in Accordance With Educational Reform in 2nd Decade by School Directors Administrating in Opportunity Expansion Schools Under the Educational Network Center of Tabtao 2, The Chiang Rai Primary Educational Area Office 4
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ตามัย, มนต์ธิดา
คำสำคัญ: การบริหาร
การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
ผู้บริหารสถานศึกษา
โรงเรียนขยายโอกาส
ศูนย์เครือข่ายการศึกษาตับเต่า
จังหวัดเชียงราย
Administration
Educational reform in 2nd decade
School administrators
Schools expand opportunities
Tap Tao Network Education Center
Chiang Rai Province
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=809&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง และศึกษาปัญหาข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของผู้บริหารในโรงเรียนขยายโอกาส ศูนย์เครือข่ายการศึกษาตับเต่า 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ ด้านพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ ด้านพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่และด้านพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการรวมเฉลี่ยทุกด้านอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ สูงสุดได้แก่ ด้านพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ อยู่ในระดับมาก และน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ อยู่ในระดับมาก 2) จากการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ พบว่า ด้านพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ พบปัญหาคนไทยขาดความรับผิดชอบ ควรปลูกฝังให้รู้จักความรับผิดชอบมากขึ้น ด้านพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ พบปัญหาภาระงานของครูเยอะเกินไป ควรลดภาระงานของครู ด้านพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ พบปัญหาสภาพแวดล้อมและบริบทของโรงเรียนไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ ควรนำแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นมาใช้ให้มากขึ้นด้านพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ พบปัญหาการกระจายอำนาจจากส่วนกลางยังไม่มากพอ ส่วนกลางควรจะกระจายอำนาจให้กับโรงเรียน
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2215
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Montida Tamai.pdfMontida Tamai1.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น