กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2209
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อแก้ว อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of Participatory Learning Program on Perception and Preventive Behaviors of Diabetes Among Type 2 Diabetes Risk Group in Tambon Banborkaew Health Promotion Hospital, Denchai District, Phrae Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์กฤตญา, คำรณ
คำสำคัญ: โรคเบาหวาน
การมีส่วนร่วม
แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ
การป้องกันโรค
จังหวัดแพร่
Diabetes
Participation
Health beliefs model
Disease prevention
Phrae Province
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=919&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-experimental Research) แบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest-posttest design) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 และเปรียบเทียบการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน ก่อนและหลังเข้าโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อแก้ว อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน ใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้วิธีจับฉลาก โปรแกรมประกอบด้วย การบรรยาย การสาธิต การฝึกปฏิบัติ การเรียนรู้ผ่านตัวต้นแบบ การจดบันทึกสถานะสุขภาพลงในสมุดคู่มือ การติดตามเยี่ยมบ้าน ใช้ระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 54.0 พฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 88.0 ส่วนโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน มีกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรค การใช้ตัวต้นแบบ และฐานความรู้โมเดลอาหาร ทำให้กลุ่มเสี่ยงมีความสนใจในการเรียนรู้กิจกรรม มีการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ และอุปสรรคในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคมากขึ้น กิจกรรมที่ 2 การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานผ่านการเรียนรู้จากตัวแบบ และกระบวนการกลุ่ม ทำให้กลุ่มเสี่ยง ได้ฝึกบริหารร่างกาย ฝึกการผ่อนคลาย มีความรู้ในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ กิจกรรมที่ 3 การให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยง ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุข มีความรู้และทักษะเรื่องการป้องกันโรคเบาหวานมากขึ้นและมีความพร้อม ในการปฏิบัติงาน กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการกระตุ้น แรงสนับสนุนทางสังคม ทำให้กลุ่มเสี่ยงมีกำลังใจในการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ได้รับคำแนะนำในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ กิจกรรมที่ 5 การประเมินผล ทำให้กลุ่มเสี่ยงได้รับทราบสถานะสุขภาพของตนเอง มีการให้รางวัลและมอบประกาศนียบัตรให้กับกลุ่มเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ดีขึ้น หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้อยู่ในระดับดีร้อยละ 86.0 พฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 92.0 การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = < 0.001, < 0.001 ตามลำดับ)
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2209
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Khumron Pongkittaya.pdfKhumron Pongkittaya2.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น