กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2121
ชื่อเรื่อง: บทบาทที่เป็นจริงและบทบาทที่คาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในกลุ่มเครือข่ายขุนงาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Role of Expected and Actual of School Administrator’s Promoting Classroom Research in Khunngao Cluster under Lampang Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บ่อเงิน, จักรกรินทร์
คำสำคัญ: บทบาทที่เป็นจริงและบทบาทที่คาดหวัง
การส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน
ผู้บริหารสถานศึกษา
การทำวิจัย
The role of expected and actual
Classroom research
School administrators
Doing research
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1011&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทที่เป็นจริง และบทบาทที่คาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในกลุ่มเครือข่ายขุนงาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปางเขต 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 293 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test และ f-test ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุในช่วง 41-50 ปี ด้านระดับการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด ประสบการณ์ในการทำงานส่วนใหญ่ 6-10 ปี ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทที่เป็นจริง และบทบาทที่คาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน พิจารณาบทบาทที่เป็นจริงในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.26) รายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สนับสนุนให้ยอมรับ นับถือครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน บทบาทที่คาดหวังในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.28) รายด้านพบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงสุด มี 2 ด้าน คือ ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จของงานวิจัยในชั้นเรียน และสนับสนุนให้ยอมรับนับถือครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทที่เป็นจริง และบทบาทที่คาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษา ในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในกลุ่มเครือข่ายขุนงาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 ด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษาประสบการณ์การทำงานต่างกัน พบว่าโดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2121
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Jakarin Borngoen.pdfJakarin Borngoen1.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น