Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1699
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เสาร์เจริญ, ณรงค์ฤทธิ์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-08-23T07:36:14Z | - |
dc.date.available | 2022-08-23T07:36:14Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.citation | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=321&doc_type=0&TitleIndex=1 | en_US |
dc.identifier.uri | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1699 | - |
dc.description.abstract | ในการศึกษาสภาพ และความพึงพอใจในการดำเนินการกิจกรรมดนตรี นาฏศิลป์ไทย และพื้นบ้าน ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งของโรงเรียนกลุ่มเชียงคำ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยาเขต 2 เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพ และความพึงพอใจในการดำเนินการกิจกรรมดนตรี นาฏศิลป์ไทย และพื้นบ้าน ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ของโรงเรียนกลุ่มเชียงคำ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 ประชากรที่ใช้ทำการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 262 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกนได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 174 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ และกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยแบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2 แบบสอบถามสภาพการดำเนินการ ตอนที่ 3 แบบสอบถามความพึงพอใจในการดำเนินการ ตอนที่ 4 เป็นแบบสอบถามปลายเปิด สอบถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการ ผลการวิจัย 1) ในการศึกษาสภาพการดำเนินการ พบว่า ในด้านการดำเนินการตามหลักการของกิจกรรม ผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนมีการดำเนินการตามหลักการกิจกรรมดนตรี นาฏศิลป์ไทย และพื้นบ้าน เป็นส่วนใหญ่ ในด้านการดำเนินการตามเป้าหมาย พบว่า มีการดำเนินการตามเป้าหมายเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนดนตรี นาฏศิลป์ไทย และพื้นบ้าน 2) ในการศึกษาความพึงพอใจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจ ต่อการดำเนินการกิจกรรมดนตรี นาฏศิลป์ไทย และพื้นบ้านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในด้านครูภูมิปัญญาท้องถิ่นมากที่สุดซึ่งอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการในการพัฒนาการเรียนการสอนดนตรี นาฏศิลป์ไทย และพื้นบ้าน ระยะ 3 ปี (2553 – 2555) ซึ่งอยู่ในระดับมาก และด้านหลักสูตรและแผนการสอนดนตรี นาฏศิลป์ไทย และพื้นบ้าน ซึ่งอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในด้านครุภัณฑ์เครื่องดนตรีพื้นบ้านน้อยที่สุด ซึ่งอยู่ระดับปานกลาง | en_US |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.subject | การดำเนินกิจกรรม | en_US |
dc.subject | ดนตรีสากล | en_US |
dc.subject | นาฏศิลป์ไทย | en_US |
dc.subject | ดนตรีพื้นบาน | en_US |
dc.subject | Activity | en_US |
dc.subject | International music | en_US |
dc.subject | Thai dance | en_US |
dc.subject | Folk music | en_US |
dc.title | สภาพและความพึงพอใจในการดำเนินการกิจกรรมดนตรี นาฏศิลป์ไทยและพื้นบ้านตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งของโรงเรียนกลุ่มเชียงคำ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 | en_US |
dc.title.alternative | A Study and Satisfaction in The Music Thai Folk Dance of Stimulus Package 2 (Sp 2) Chiangkham’s School Group 1, Phayao Primary Educational Area Office 2 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Narongrit Saojaroen.pdf | Narongrit Saojaroen | 3.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.