Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/119
Title: การบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอเวียงแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
Other Titles: The Information System Management of Schools in Wiang Kaen District, Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area 4
Authors: ซาวคำเขตต์, ณัฐวุฒิ
Keywords: ระบบสารสนเทศ
Information system
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1438&doc_type=0&TitleIndex=1
Abstract: การศึกษาการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอเวียงแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารระบบสารสนเทศในการบริหารงาน 4 ด้าน และเพื่อศึกษาแนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอเวียงแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศของสถานศึกษา จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอเวียงแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 โดยภาพรวมของการบริหารงาน 4 ด้าน ดังนี้ งานบริหารวิชาการอยู่ในระดับมากที่สุด งานบริหารงบประมาณอยู่ในระดับมาก งานบริหารบุคคลอยู่ในระดับมาก งานบริหารทั่วไปอยู่ในระดับมากที่สุด 2) แนวทางการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอเวียงแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 โดยภาพรวมของการ บริหารงาน 4 ด้าน ดังนี้ ด้านการรวบรวมข้อมูลสถานศึกษาควรมีการกำหนดวิธีการ การกำหนดผู้รับผิดชอบ การเก็บรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจนมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการบริหารงานของสถานศึกษา ด้านการตรวจสอบข้อมูลสถานศึกษาควรตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแหล่งที่มาของข้อมูลสำหรับการบริหารงานของสถานศึกษา ด้านการประมวลผลข้อมูลจัดเรียงลำดับแยกแยะตามลักษณะและประเภทจัดแบ่งกลุ่มของข้อมูลใช้ค่าสถิติที่เหมาะสมกับข้อมูลที่จัดเก็บ และประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศได้ครอบคลุมครบถ้วน ด้านการนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศสถานศึกษาควรมีการจัดลำดับสารสนเทศตามความเร่งด่วน และความสำคัญในการนำไปใช้ และด้านการจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศสถานศึกษาควรมีการเก็บรักษาข้อมูลและสารสนเทศในรูปแบบฐานข้อมูลโดยการจำแนกหมวดหมู่อย่างเป็นระบบเพื่อสะดวกสำหรับการสืบค้นข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในงานต่าง ๆ
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/119
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59170057.pdfNattawut Saokumket1.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.