กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/117
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาการตรวจพิสูจน์ที่ดินเพื่อออกโฉนดที่ดินในเขตพื้นที่ป่าไม้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Problem of Land Inspection for Title Deed in the Forest Area According to the Ministerial Regulation no.43 (Be 2537) Issued under the Provisions of the Land Code, Be 2497. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บุญประเสริฐ, พงศธร |
คำสำคัญ: | ตรวจพิสูจน์ โฉนดที่ดิน พื้นที่ป่าไม้ Land inspection Title deed Forest area |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
แหล่งอ้างอิง: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1277&doc_type=0&TitleIndex=1 |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการออกโฉนดที่ดินในกรณีที่ต้องมีการตรวจพิสูจน์ที่ดิน ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของการออกโฉนดที่ดินในกรณีดังกล่าว เพื่อให้ทราบถึงข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาและอุปสรรค โดยการศึกษาว่าประมวลกฎหมายและกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) มีหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการออกโฉนดที่ดินอย่างไร มีขั้นตอนการตรวจพิสูจน์ที่ดินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) และแนวทางในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอย่างไร และมีปัญหาใดในทางปฏิบัติ เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไข โดยเป็นการวิจัยด้วยเอกสารซึ่งค้นคว้าจากบทบัญญัติของกฎหมาย เอกสาร คำอธิบาย ตลอดจนหนังสือเวียน ระเบียบ และคำสั่งของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า แม้จะมีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการออกโฉนดที่ดิน ในกรณีที่ต้องมีการตรวจพิสูจน์ที่ดินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ไว้ รวมถึงกรมที่ดินได้มีการวางแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดินถือปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน แต่ในทางปฏิบัติแล้วยังคงเกิดปัญหาและอุปสรรคหลายด้าน เช่น การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มักเป็นไปด้วยความล่าช้าสืบเนื่องจากการที่มีระเบียบ คำสั่ง กฎหมายที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก และมีความแตกต่างในการปฏิบัติในแต่ละหน่วยงาน เนื่องจากมีวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายในการใช้กฎหมายที่ต่างกัน ความไม่เป็นเอกภาพของระเบียบและคำสั่งของแต่ละหน่วยงานเป็นเหตุให้เกิดปัญหาในการให้ความเห็นของคณะกรรมการฯ ในเรื่องของการออกโฉนดที่ดิน ผู้วิจัยจึงเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาโดยให้มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการฯ ไว้โดยชัดแจ้ง มีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่แน่นอนโดยการพิจารณาสร้างหลักเกณฑ์ร่วมกัน โดยความเห็นชอบของแต่ละหน่วยงาน การอบรมให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจ ในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้แก่เจ้าหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามแนวทางเดียวกัน รวมถึงการสร้างจิตสำนึกที่ดีในการบริการประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป |
URI: | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/117 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
21.Phongsathorn Boonprasert.pdf | Phongsathorn Boonprasert | 1.26 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น