Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/117
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorบุญประเสริฐ, พงศธร-
dc.date.accessioned2020-02-21T06:24:56Z-
dc.date.available2020-02-21T06:24:56Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1277&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://10.209.10.67:8080/handle/123456789/117-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการออกโฉนดที่ดินในกรณีที่ต้องมีการตรวจพิสูจน์ที่ดิน ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของการออกโฉนดที่ดินในกรณีดังกล่าว เพื่อให้ทราบถึงข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาและอุปสรรค โดยการศึกษาว่าประมวลกฎหมายและกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) มีหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการออกโฉนดที่ดินอย่างไร มีขั้นตอนการตรวจพิสูจน์ที่ดินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) และแนวทางในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอย่างไร และมีปัญหาใดในทางปฏิบัติ เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไข โดยเป็นการวิจัยด้วยเอกสารซึ่งค้นคว้าจากบทบัญญัติของกฎหมาย เอกสาร คำอธิบาย ตลอดจนหนังสือเวียน ระเบียบ และคำสั่งของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า แม้จะมีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการออกโฉนดที่ดิน ในกรณีที่ต้องมีการตรวจพิสูจน์ที่ดินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ไว้ รวมถึงกรมที่ดินได้มีการวางแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้คณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดินถือปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน แต่ในทางปฏิบัติแล้วยังคงเกิดปัญหาและอุปสรรคหลายด้าน เช่น การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มักเป็นไปด้วยความล่าช้าสืบเนื่องจากการที่มีระเบียบ คำสั่ง กฎหมายที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก และมีความแตกต่างในการปฏิบัติในแต่ละหน่วยงาน เนื่องจากมีวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายในการใช้กฎหมายที่ต่างกัน ความไม่เป็นเอกภาพของระเบียบและคำสั่งของแต่ละหน่วยงานเป็นเหตุให้เกิดปัญหาในการให้ความเห็นของคณะกรรมการฯ ในเรื่องของการออกโฉนดที่ดิน ผู้วิจัยจึงเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาโดยให้มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการฯ ไว้โดยชัดแจ้ง มีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่แน่นอนโดยการพิจารณาสร้างหลักเกณฑ์ร่วมกัน โดยความเห็นชอบของแต่ละหน่วยงาน การอบรมให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจ ในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้แก่เจ้าหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามแนวทางเดียวกัน รวมถึงการสร้างจิตสำนึกที่ดีในการบริการประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectตรวจพิสูจน์en_US
dc.subjectโฉนดที่ดินen_US
dc.subjectพื้นที่ป่าไม้en_US
dc.subjectLand inspectionen_US
dc.subjectTitle deeden_US
dc.subjectForest areaen_US
dc.titleปัญหาการตรวจพิสูจน์ที่ดินเพื่อออกโฉนดที่ดินในเขตพื้นที่ป่าไม้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497en_US
dc.title.alternativeThe Problem of Land Inspection for Title Deed in the Forest Area According to the Ministerial Regulation no.43 (Be 2537) Issued under the Provisions of the Land Code, Be 2497.en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
21.Phongsathorn Boonprasert.pdfPhongsathorn Boonprasert1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.