กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/975
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของประชาชนบ้านแม่ป่าข่า หมู่ 12 ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Influenced to Alcohol Drinking Behavior Among in Maepaka Mestha District Lumphun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยะคำแจ้, กมล
คำสำคัญ: การดื่มสุรา
พฤติกรรมการดื่ม
Alcohol Drinking
Drinking behavior
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=471&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มสุรา ศึกษาปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มสุรา และเปรียบเทียบปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการดื่มสุรา จากประชากรทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในหมู่ 12 บ้านแม่ป่าข่า ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูนช่วงเดือนมิถุนายน 2554-ธันวาคม 2554 และมีอายุ 15 ปีขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ประยุกต์ขึ้น ผลการศึกษาพบว่า ประชากรส่วนใหญ่ดื่มสุรา ค่าเฉลี่ยของผู้ที่ดื่มสุราครั้งแรกอายุ 21-47 ปี ดื่มสุราครั้งแรกกับเพื่อนด้วยสาเหตุอยากลอง สุราที่นิยมมากที่สุด คือ เบียร์ ช่วงเวลา ที่ใช้ในการดื่มสุรา คือ ตอนเย็นหลังเลิกงาน บุคคลที่มักดื่มสุราด้วยบ่อยที่สุด คือ เพื่อน โอกาสที่ ดื่มสุรามากที่สุด คือ งานประเพณีต่าง ๆ เช่น ลอยกระทง สงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่เป็นต้น ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่ใช้ในการดื่มสุราเท่ากับ 152.86 บาทต่อครั้ง การดื่มสุราเป็นเหตุให้เสียทรัพย์ เฉลี่ยเป็นเงินเท่ากับ 2,357.66 บาทต่อปี ประชากรส่วนใหญ่มีความคาดหวังจากการดื่มสุรา พบว่า ดื่มสุราเพื่อให้รื่นเริงสนุกสนาน เวลาร่วมงานเลี้ยง หรืองานสังสรรค์ ดื่มสุราเพื่อขจัดอารมณ์ไม่ดี ดื่มสุราเพื่อให้นอนหลับสบาย ด้านความเชื่อ พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เชื่อว่าการ ดื่มสุราเป็นสิทธิส่วนบุคคล การดื่มสุราเป็นเรื่องปกติในสังคม การดื่มสุราทำให้การติดต่อพูดคุย ราบรื่น การดื่มสุราเป็นครั้งคราว ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย ด้านสถานที่จำหน่ายสุรา พบว่า ประชากรส่วนใหญ่สะดวกในการซื้อทุกเวลา ระยะทางที่ไปซื้อสุราคิดว่าเป็นระยะทางที่ใกล้ ประชากรส่วนใหญ่ครอบครัว และเพื่อนดื่มสุรา ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มสุรา พบว่า ความคาดหวังจากการดื่มสุรา ความเชื่อที่มีต่อการดื่มสุรา และความสะดวกด้านเวลาในการซื้อสุรามีความสัมพันธ์กับแบบแผนการดื่มสุรา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความคาดหวังจากการดื่มสุรา ความเชื่อที่มีต่อการดื่มสุรา และความสะดวกด้านเวลาในการซื้อสุรา และครอบครัวและเพื่อนมีความสัมพันธ์กับความถี่การดื่มสุรา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ควรนำไปใช้ในการวางแผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสุราในหมู่บ้าน และเป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบาย วางแผนกลยุทธ์ในการดำเนินงาน
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/975
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Gamol Yacomejai.pdfGamol Yacomejai1.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น