Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/668
Title: | กระบวนการนำไปสู่การได้รับเลือกตั้งเป็นนักการเมืองท้องถิ่นสตรีศึกษา กรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลแม่กา เขต 2 อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2552 |
Other Titles: | The Process of Being Elected to be a Local Politician, Women Education the Case of the Election of the Members of the Mae Ka Subdistrict Municipality Council, District 2, Mueang District, Phayao Province, on 12 January 2009 |
Authors: | เชื้อพรรณงาม, ชุติกาญจน์ |
Keywords: | การเลือกตั้ง นักการเมืองท้องถิ่น สตรี สมาชิกสภาเทศบาลตำบล The election Local politician Women The members of the Mae Ka subdistrict municipality council |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=304&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การศึกษากระบวนการนำไปสูการได้รับเลือกตั้งเป็นนักการเมืองท้องถิ่นสตรีศึกษากรณี การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลแม่กา เขต 2 อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552 มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อวิเคราะห์กระบวนการนำไปสู่การได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเพศหญิง และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลตอการตัดสินใจเลือกสมาชิกสภาเทศบาลเพศหญิงของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552 เขต 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการนำไปสู่การได้รับเลือกตั้งเป็นนักการเมืองท้องถิ่นสตรีศึกษากรณี การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลแม่กา เขต 2 อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552 กระบวนการอันจะนำไปสู่การได้รับการเลือกตั้งของผู้สมัครเพศหญิงประกอบไปด้วยปัจจัยเกื้อหนุนหลายอย่าง ได้แก่ ปัจจัยเกี่ยวกับการตัดสินใจลงสมัคร ซึ่งมีพื้นฐานมาจากความสนใจส่วนตัวและต้องการพิสูจน์ความสามารถของตน โดยมีบุคคลรอบด้านให้การสนับสนุน ปัจจัยเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการหาเสียงที่ดี ปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้สมัครซึ่งมีความพร้อมในด้านฐานะการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงานพัฒนา ประกอบกับมีคุณลักษณะความเป็นผู้นำ และบารมีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเกี่ยวกับเงื่อนไขของชุมชนและได้รับแรงสนับสนุนจากชาวบ้านรวมทั้งโอกาสและจังหวะที่เหมาะสม สำหรับกระบวนการเข้าสู่ตำแหน่ง พบว่า ส่วนหนึ่งเคยมีบุคคลในเครือญาติดำรงตำแหน่งมาก่อนทำให้ได้รับโอกาสเรียนรู้ และมีประสบการณ์จากการพัฒนา และส่วนใหญ่เคยเข้าร่วมกิจกรรมหมู่บ้านในฐานะผู้นำกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งสตรีที่ต้องการพัฒนาตนเองเข้าสู่วงการเมือง ควรมีการฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีประสบการณ์ ความพร้อมทุกด้าน รวมทั้งด้านบุคลิกภาพ และด้านอื่น ๆ โดยการศึกษาเข้ารับการฝึกอบรม การศึกษาดูงาน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ ลัดดา ชัชวาล (2544) เสนอแนะว่า สตรีต้องนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาของสตรีต่อผู้นำชุมชน และหน่วยงานภายนอกเพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข และขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานตาง ๆ |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/668 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chutikan Chaupunngam.pdf | Chutikan Chaupunngam | 2.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.