กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/577
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรม กรณีศึกษาหมู่บ้านราษฏร์พัฒนา ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Water Resources Development for Agriculture Case Study Ratphattana Village Sra Subdistrict Chiang Muan District Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ช่วยค้ำชู, ภานุกร
คำสำคัญ: การพัฒนาแหล่งน้ำ
อัตราส่วนของผลประโยชน์ต่อต้นทุน
Water resources development
Benefit-cost ratio
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1391&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ จากผลการศึกษาพบว่า ปริมาณน้ำท่าที่ไหลเข้ามาในพื้นที่มีปริมาณรวมประมาณ 785.64 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งมีความเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำในทุกกิจกรรมที่มีค่าประมาณ 8.23 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งจากปริมาณน้ำต้นทุน และสภาพภูมิประเทศของพื้นที่ สามารถพัฒนาระบบชลประทานเพื่อนำน้ำต้นทุนไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้ 2 ลักษณะ คือ โครงการประตูระบายน้ำ และโครงการสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า เมื่อทำการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม พบว่า โครงการประตูระบายน้ำ และโครงการสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า มีค่าอัตราส่วนของผลประโยชน์ต่อต้นทุน (Benefit cost ratio: B/C Ratio) เท่ากับ 0.87 และ 4.49 ตามลำดับ ดังนั้น ในการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมในพื้นที่นี้จึงควรเลือกการดำเนินโครงการเป็นสถานีสูบน้ำด้วยพลังงานไฟฟ้า
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/577
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Panukorn Chuaykamchoo.pdfPanukorn Chuaykamchoo3.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น