กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/484
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งบริหารของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Model for Promoting Women to Become Administrative Position in Basic Education School
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นวธนโชติ, ปนัดดา
คำสำคัญ: การเข้าสู่ตำแหน่งบริหาร
ผู้บริหารสตรี
ปัจจัยเชิงบุคคล
ปัจจัยเชิงวิชาชีพ
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
โรงเรียนมัธยมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Administrative position in school
Model for promoting women administrator in educational administration
Personal factor
Professional factor
Basic education school
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1214&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้แบบผสมผสานในเชิงคุณภาพและปริมาณมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งบริหารของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสตรีโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1-10 จำนวน 549 คน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งบริหารของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยเชิงบุคคลและปัจจัยเชิงวิชาชีพ การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งบริหารของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่า ปัจจัยเชิงบุคคลที่ส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งบริหารของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ การมีความมุ่งมั่น ความมั่นใจในความสามารถของตนเอง ความกล้าเผชิญความขัดแย้ง การจัดสมดุลงานและครอบครัว การเชื่อในบทบาทที่ไม่ได้ขัดแย้งกัน ความสะดวกในการย้ายถิ่นฐาน และการได้รับการสนับสนุนจากคู่ครอง ส่วนปัจจัยเชิงวิชาชีพที่ส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งบริหารของผู้บริหารสตรี ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การเข้าถึงเครือข่ายของบุรุษ 2) การสร้างเครือข่ายระหว่างสตรี 3) การสร้างการยอมรับจากเพศตรงข้าม 4) การยืนหยัดต่อคุณค่าของสตรี 5) โครงสร้างของผลตอบแทนที่เท่าเทียมกัน 6) การมีผู้ชี้แนะและแบบอย่างภายในองค์กร 7) ภาพลักษณ์ของผู้นำแบบชายเป็นใหญ่ และ 8) การขัดเกลาบทบาททางเพศ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันระดับที่สอง ของตัวแปรการส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งบริหาร ของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา พบว่า มีองค์ประกอบ 14 องค์ประกอบที่นํ้าหนักองค์ประกอบ (Factor loading) ทุกค่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีค่ามากกว่า 0.40 โดย มิติเชิงจิตวิทยา มีค่านํ้าหนัก องค์ประกอบมากที่สุดเท่ากับ 0.999 เมื่อพิจารณาค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard error: SE) และค่าสถิติ t พบว่า นํ้าหนักองค์ประกอบแต่ละค่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อย่างไรก็ตามองค์ประกอบภาพลักษณ์ของผู้นำแบบชายเป็นใหญ่ มีค่านํ้าหนักองค์ประกอบ 0.217 ค่า R2 ซึ่งเป็นค่าที่บอกสัดส่วนความแปรผันระหว่างตัวแปรสังเกตได้กับองค์ประกอบร่วม (Communalities) พบว่า การได้รับมิติเชิงจิตวิทยา มีค่า R2 มากที่สุดเท่ากับ 0.998 รองลงมา คือ มิติเชิงการเมือง มีค่าเท่ากับ 0.994 และน้อยที่สุด คือ การมีโครงสร้างของผลค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน มีค่าเท่ากับ 0.047 ในภาพรวมพบว่า การวิเคราะห์รูปแบบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินว่ารูปแบบการส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งบริหารของผู้บริหารสตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/484
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
10.Panatda Nawathanachot.pdfPanatda Nawathanachot3.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น