Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/435
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเฉยบำรุง, นุชศรา-
dc.date.accessioned2020-07-29T09:02:15Z-
dc.date.available2020-07-29T09:02:15Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1234&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://10.209.10.67:8080/handle/123456789/435-
dc.description.abstractการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ สามารถนำรายได้ไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป วัฒนธรรมอิสลามเป็นวัฒนธรรมย่อย ในกระแสวัฒนธรรมหลักของประเทศไทย มีมัสยิดเป็นบ่อเกิดแห่งมิติด้านวัฒนธรรม เช่น ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน การแต่งกาย ตำรับอาหาร ประวัติศาสตร์ชุมชน และวิถีชีวิต การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมุสลิมบริเวณมัสยิด กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมุสลิมบริเวณมัสยิด กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมุสลิมบริเวณมัสยิด กรุงเทพมหานคร เป็นวิธีวิจัยเชิงผสม ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ ในการทดสอบสมมติงานวิจัย ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไค-สแควร์, t-test และ f-test การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 5 กลุ่ม ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา จำนวน 31 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.25 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 34.25 สถานภาพสมรส ร้อยละ 47.50 การศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี ร้อยละ 60.50 ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวและรับจ้าง ร้อยละ 29.25 และมีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 20,001-25,000 บาท 2) พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อปฏิบัติศาสนกิจด้านศาสนา ชื่นชอบแหล่งท่องเที่ยวประเภทประวัติศาสตร์มากที่สุด ส่วนใหญ่เดินทางมากับครอบครัว เดินทางท่องเที่ยว 1 เดือนต่อครั้ง เดินทางในช่วงวันหยุดเทศกาลต่าง ๆ ผู้ร่วมเดินทาง 6 คนขึ้นไป และค่าใช้จ่ายระหว่าง 1,001-3,000 บาท 3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านการส่งเสริมการตลาด นักท่องเที่ยวต้องการให้ส่งเสริมมากที่สุด และน้อยที่สุด คือ ด้านราคา 4) จากการสัมภาษณ์ พบว่า แหล่งท่องเที่ยวมีสิ่งดึงดูดใจด้านความเป็นเอกลักษณ์วิถีชีวิตมุสลิม ความงดงามด้านศิลปวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม แต่สิ่งที่ควรส่งเสริมในแหล่งท่องเที่ยว คือ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ควรให้การสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในอนาคต ด้านเศรษฐกิจควรให้การสนับสนุนในการสร้างรายได้ให้กับชุมชน ให้ชุมชนเข้ามาส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และส่งเสริมการตลาดด้วยการเพิ่มช่องทางโฆษณา ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยวในหลายช่องทางen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมมุสลิมen_US
dc.subjectแนวทางการส่งเสริมen_US
dc.subjectTourism industryen_US
dc.subjectMuslim cultural tourismen_US
dc.subjectGuideline for promotingen_US
dc.subjectกรุงเทพมหานครen_US
dc.subjectBangkoken_US
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงศาสนาen_US
dc.subjectThe Religious tourismen_US
dc.titleแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมุสลิม กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeGuideline for Promoting the Muslim Cultural Tourism in Bangkok Mosques Areaen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
30.Nutsara Cheybumrung.pdfNutsara Cheybumrung4.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.