กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2496
ชื่อเรื่อง: การเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาของช่อดอกกล้วยน้ำว้า เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Morphological Change in Inflorescence of Klaui Namwa (Musa [ABB group]) Using in Vitro Culture
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรหมดี, อมรพัชรีรัตน์
คำสำคัญ: ช่อดอกกล้วยน้ำว้า
สารต้านอนุมูลอิสระ
สารควบคุมการเจริญเติบโต
การเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยา
Inflorescence
Antioxidant
Plant growth regulators
Morphological change
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: การเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาของช่อดอกกล้วยน้ำว้าเมื่อนำมาเพาะเลี้ยงในอาหารกึ่งแข็งสูตร MS โดยการศึกษาผลของการใช้สารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ กรดแอสคอร์บิค กรดซิตริก และผงถ่าน เพื่อลดการเกิดปฏิกิริยา Browning และศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบโต NAA BA TDZ Kinetin และน้ำมะพร้าว ต่อการเจริญและพัฒนาของช่อดอกกล้วยน้ำว้า พบว่า การใช้สารต้านอนุมูลอิสระแบบการนำชิ้นส่วนช่อดอกกล้วยน้ำว้าไปชุบในสารละลายกรดแอสคอร์บิค ความเข้มข้น 1% ชิ้นส่วนที่ผ่านการชุบสารละลายกรดแอสคอร์บิคมีระดับความดำน้อยกว่าชิ้นส่วนที่ไม่ได้ผ่านการชุบสารละลายกรดแอสคอร์บิค และชิ้นส่วนทั้งหมดสามารถรอดชีวิตได้ 100% ส่วนการใช้สารละลายสารต้านอนุมูลเทลงไปบนหน้าอาหารเพาะเลี้ยง ชิ้นส่วนที่เพาะเลี้ยงในอาหารที่มีการเติมผงถ่านมีระดับความดำน้อยกว่าอาหารที่ไม่มีการเติมผงถ่าน และชิ้นส่วนที่เพาะเลี้ยงในอาหารที่เติมสารละลายกรดซิตริก 1 และ 5% มีระดับความดำน้อยกว่าชิ้นส่วนที่เพาะเลี้ยงในอาหารที่เติมสารละลายกรดแอสคอร์บิค 1 และ 5% แต่เนื่อเยื่อทั้งหมดก็ไม่พบการรอดชีวิต ส่วนการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโต NAA 5 mg/l และ BA 5 mg/l ให้จำนวนหน่อที่มากที่สุดถึง 11.5 หน่อ TDZ 5 mg/l ให้จำนวนหน่อที่มากที่สุดถึง 9.14 หน่อ และ Kinetin 5 mg/l ให้จำนวนหน่อที่มากที่สุดถึง 8.87 หน่อ ชิ้นส่วนที่เพาะเลี้ยงทั้งหมดสามารถแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาได้หลายแบบ ได้แก่ การเกิดช่อดอกใหม่ การเจริญเป็น ผล ดอก หน่อ รวมถึงการเจริญเป็นที่สมบูรณ์และมีรากเกิดขึ้น
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2496
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:คณะวิทยาศาสตร์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
ติดต่อ เจ้าหน้าที่งานคลังข้อมูลเพื่อการวิจัย.pdfcontact49.47 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น