กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2472
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ของกลุ่มชาติพันธุ์ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Affecting Self-Management in Controlling Blood Sugar Levels Among Ethnic Groups Patients with Non-Insulin Dependent Diabetes Mellitus, Mae Sai District, Chiang Rai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทรายหมอ, สมปรารถนา
คำสำคัญ: โรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
กลุ่มชาติพันธุ์
การจัดการตนเอง
Non-insulin Dependent Diabetes
Mellitus Ethnic Groups
Self-Management
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=2062
บทคัดย่อ: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินของกลุ่มชาติพันธุ์ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการตนเอง ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินของกลุ่มชาติพันธุ์ อ.แม่สาย จ.เชียงราย กลุ่มตัวอย่าง 192 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง อย่างเป็นระบบเก็บข้อมูล 1 กุมภาพันธ์ - 28 กุมภาพันธ์ 2565 ในพื้นที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยสถิติ multple regression ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการจัดการตนเอง ด้านการรับประทานอาหาร และด้านการรับประทานยา อยู่ในระดับสูง (76.0%, 75.0%) และการจัดการตนเอง ด้านการออกกำลังกาย และด้านการจัดการความเครียด อยู่ในระดับปานกลาง (51.0%, 52.6%) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการตนเองมี 3 ปัจจัย คือ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเองต่อโรคเบาหวาน (P <0.001) ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน (P < 0.001) และการรับรู้ประโยชน์ของการจัดการตนเองต่อโรคเบาหวาน (P = 0.001) เขียนเป็นสมการในการทำนายดังนี้ คือ คะแนนการจัดการตนเองต่อโรคเบาหวาน = 45.488 + 0.:703 (การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเองต่อโรคเบาหวาน) + 0.707 (ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน) + 0.615 (การรับรู้ประโยชน์ของการจัดการตนเองต่อโรคเบาหวาน) ได้ 33.9% (Adj.R2 = 0.339, p < 0.001) ผลการศึกษาที่ได้ควรใช้ในการวางแผนการส่งเสริมพฤติกรรม การจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน การเพิ่มการรับรู้สมรรถะแห่งตน และการรับรู้ประโยชน์ของการจัดการตนเองต่อโรคเบาหวาน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานต่อไป
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2472
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Sompradthana Saimor.pdfSompradthana Saimor5.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น