Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2444
Title: การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารโครงการพัฒนาทักษะสัมมาอาชีพของกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาจังหวัดพะเยา-เชียงราย
Other Titles: A Study of Conditions and Management of The Vocational Skills Development Project of the Phrapariyattidhamma School Group Department of General Education Phayao–Chiang Rai Province
Authors: ศรีธนะ, สุตวุฒิการ (พิพิธวุฒิการ), พระครู
Keywords: โครงการพัฒนาทักษะสัมมาอาชีพโรงเรียนพระปริยัติธรรม
การบริหารโครงการ
ทักษะสัมมาอาชีพ
Conditions and Guidelines for the Implementation of the Occupational Skills Development Project
Project management
Professional skills
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Citation: http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=1998
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการโครงการพัฒนาทักษะสัมมาอาชีพของกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารโครงการพัฒนาทักษะสัมมาอาชีพของกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดพะเยา-เชียงราย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดพะเยา–เชียงราย จำนวน 213 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ โดยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ (Description Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการดำเนินการโครงการพัฒนาทักษะสัมมาอาชีพ ของกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดพะเยา-เชียงราย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการติดตามประเมินผล ด้านการปรับปรุงและพัฒนา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการปฏิบัติตามแผน 2) แนวทางการบริหารโครงการพัฒนาทักษะสัมมาอาชีพของกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ควรมีการกำหนดเป้าหมาย และแนวทางการดำเนินงานกำหนดผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาและทรัพยากรที่ต้องใช้ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายของโรงเรียน จัดสิ่งอำนวยความสะดวก สนับสนุน กำกับ ติดตามการทำงานทั้งระดับบุคลากร รายกลุ่ม รายหมวด และให้การนิเทศ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา เพราะจะทำให้ได้ข้อมูลย้อนกลับที่แสดงว่า การดำเนินงานที่ผ่านมาบรรลุเป้าหมายเพียงใด โดยวางกรอบการประเมิน จัดหาทำเครื่องมือ จัดเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เมื่อได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วแต่ละฝ่ายประเมินผลสำเร็จแล้ว จะส่งผลให้คณะกรรมการรับผิดชอบนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ และแปลผล แล้วนำมาเสนอผลต่อผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำไปปรับปรุงการดำเนินการโครงการ
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2444
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wutthikran Srithana.pdfWutthikran Srithana1.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.