กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2421
ชื่อเรื่อง: การศึกษาผลของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา สกุล Glomus sp. และ Acaulospora sp. ต่อการเจริญเติบโตของผักหวานป่า
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study the Effect of Arbuscular Mycorrhiza Fungi of Glomus Sp. and Acaulospora Sp. to the Growth of Pak Wan Pa (Melientha Suavis Pierre)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ใจขัน, นุสชบา
โกมิตร, ศิริพร
คำสำคัญ: ผักหวานป่า
อาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา
Glomus sp.
อาร์บัสคูล
เวสสิเคิล
การเจริญเติบโต
Pak Wan Pa
Arbuscular Mycorrhiza Fungi
Acaulospora sp.
Arbuscule
Vesicle
Growth
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: การศึกษาผลของเชื้อราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาสกุล Glomus sp.และ Acaulospora sp. ต่อการเจริญเติบโตของผักหวานป่า มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อรา AMF สกุล Glomus sp.และ Acaulospora กับผักหวานป่า ปริมาณธาตุอาหารในดิน และการเจริญเติบโตของผักหวานป่า โดยการใส่ปุ๋ยชีวภาพอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาสกุล Glomus sp. และ สกุล Acaulospora sp. จากกรมวิชาการเกษตรในดินที่ใช้ปลูกผักหวานป่าดำเนินการ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2561 ถึง มีนาคม 2562 จากผลการศึกษาพบ ความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยระหว่าง AMF กับผักหวานป่า การศึกษารากของผักหวานป่าในกลุ่มทดลองที่ใส่เชื้อรา AMF พบโครงสร้างของอาร์บัสคูล (arbuscule) และเวสสิเคิล (vesicle) ในรากผักหวานป่าในชั้น cortex และจำนวนรากแขนง 17.75±4.57 ราก การศึกษาปริมาณธาตุอาหาร พบว่า ไนโตรเจน, ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมในดินกลุ่มทดลองที่ใส่เชื้อรา AMF มีปริมาณต่ำกว่ากลุ่มควบคุม และปริมาณไนโตรเจนในต้นผักหวานป่าที่ใส่เชื้อรา AMF เท่ากับ 3.03±0.36 เปอร์เซ็นต์ ต้นผักหวานป่ากลุ่มทดลองที่ใส่เชื้อรา AMF มีจำนวนใบ 5.50±1.22 ใบ ความกว้างของใบ 1.72±0.60 เซนติเมตร มากกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่มีการใส่เชื้อรา AMF อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2421
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:คณะวิทยาศาสตร์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
ติดต่อ เจ้าหน้าที่งานคลังข้อมูลเพื่อการวิจัย.pdfcontact49.47 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น