Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/238
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิเศษกาศ, ณิชาดา | - |
dc.date.accessioned | 2020-05-12T07:50:48Z | - |
dc.date.available | 2020-05-12T07:50:48Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.citation | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1166&doc_type=0&TitleIndex=1 | en_US |
dc.identifier.uri | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/238 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน และการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของบ้านนาต้นจั่น ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ด้วยแนวคิดแบบเครือข่าย (Network governance) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้นำชุมนุมชนท่องเที่ยวบ้านนาต้นจั่น จำนวน 7 คน ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 1 คน นักบริหารงานการศึกษา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานสุโขทัย จำนวน 1 คน และนักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการจังหวัดสุโขทัย จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 11 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยแยกประเด็นตามขอบเขตของเนื้อหา โดยการนำทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทฤษฎีด้านการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน รวมถึงการบริหารจัดการแบบแนวคิด Network governance มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ การจัดกระทำข้อมูลจะใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Data triangulation) ผลการศึกษา พบว่า การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาบ้านนาต้นจั่น ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย พบว่า แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน บ้านนาต้นจั่น มีศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนทุกด้าน ได้แก่ ด้านทรัพยากรทางการท่องเที่ยว ด้านการบริการ และการให้ประสบการณ์ที่มีคุณภาพแก่นักท่องเที่ยว ด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยว และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน สำหรับการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยแนวคิดการจัดการภาครัฐแบบเครือข่าย (Network governance) นั้น กลุ่มการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านนาต้นจั่น ยังไม่มีความรู้ในด้านการบริหารแบบเครือข่ายของรัฐ จึงไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มการท่องเที่ยวแบบเครือข่าย ทำให้การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมดังกล่าว ดำเนินการโดยชุมชนที่มีผู้นำที่เข้มแข็งสามารถบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบมากว่าสิบปี และกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนบ้านนาต้นจั่น ยังมีแนวคิดที่จะพัฒนางาน โดยยึดแนวคิดการจัดการภาครัฐแบบเครือข่าย (Network governance) เพื่อให้เกิดความร่วมมือของหน่วยงานทุกภาคส่วนต่อไป | en_US |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.subject | การท่องเที่ยวชุมชน | en_US |
dc.subject | การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน | en_US |
dc.subject | บ้านนาต้นจั่น | en_US |
dc.subject | Community tourism | en_US |
dc.subject | Sustainable tourism | en_US |
dc.subject | Ban Na Ton Chan | en_US |
dc.title | การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา บ้านนาต้นจั่น ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย | en_US |
dc.title.alternative | Toward the Management of Sustainable Cultural Tourism: A Case Study of Ban Na Ton Chan Ban Tuek Si Satchanalai District, Sukhothai Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nichada Wisetkart.pdf | Nichada Wisetkart | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.