กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2233
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับสุขภาพองค์การในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Relativity Between Transformational Leadership of Administrators and Health Management for Schools in Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิติยะ, สายอรุณ
คำสำคัญ: ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
สุขภาพองค์การ
ผู้บริหารสถานศึกษา
Leadership of administrators
Health management for schools
School administrators
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=952&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การวิจัย เรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับสุขภาพองค์การในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับสุขภาพองค์การในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 จำนวน 291 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่าซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ตามลำดับ ส่วนด้านการคํานึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 2) สุขภาพองค์การในสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความชัดเจนของเป้าหมาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการมุ่งเน้นวิชาการ และด้านการใช้อิทธิพลอำนาจที่เป็นธรรม ตามลำดับ ส่วนด้านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างมีคุณค่า มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงกับสุขภาพองค์การในสถานศึกษา ภาพรวมพบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2233
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Sai-arun Kittiya.pdfSai-arun Kittiya2.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น