กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2153
ชื่อเรื่อง: สภาพการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Condition of Internal Quality Assurance Administration of Secondary Schools at Phayao Province in Secondary Educational Service Area Office 36
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: แสนมา, ศิริรัตน์
คำสำคัญ: สภาพการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
การประกันคุณภาพภายใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา
Condition of Internal Quality Assurance Administration
Internal quality assurance
Secondary school
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1048&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานระบบประกันคุณภาพภายในเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานระบบประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จำแนกตามขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ฝ่ายงานประกันคุณภาพการศึกษา และครูผู้สอน โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ทั้งหมด 18 โรงเรียน โดยแบ่งตามขนาดโรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 448 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการประเมินคุณภาพภายใน ด้านการจัดทำรายงานประจำปี และด้านการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า ขนาดโรงเรียนที่แตกต่างกันส่งผลต่อสภาพการบริหารงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างมีนัย 0.05 และเมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method) พบว่า โรงเรียนขนาดใหญ่มีสภาพการบริหารงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแตกต่างจากโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขนาดกลางมีสภาพการบริหารงานระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา แตกต่างจากโรงเรียนขนาดเล็ก โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2153
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Sirirat Sanma.pdfSirirat Sanma2.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น