กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1979
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อลดพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ดื่มสุราแบบเสี่ยงในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านน้ำแพร่ ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effect of Interpersonal Communication Skills Training Program for Reducing Alcohol Drinking in Ha Zardous use, Namphare Sub District Health Promoting Hospital, Yanghom Tambon, Khuntan District, Chiang Rai Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กาวิโล, กิจการ |
คำสำคัญ: | ทักษะการสื่อสาร สุรา ผู้ดื่มสุรา Communication skills Spirits Alcoholic |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
แหล่งอ้างอิง: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=450&doc_type=0&TitleIndex=1 |
บทคัดย่อ: | การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบเสี่ยงในชุมชน จัดเป็นปัญหาสังคมที่มีความรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ โปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล เพื่อลดพฤติกรรมการดื่มสุรา เป็นโปรแกรมหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ปัญหาด้านการสื่อสารให้กับผู้ที่ดื่มสุราแบบเสี่ยงลดการดื่มสุราได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล เพื่อลดพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ดื่มสุราแบบเสี่ยง ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2554 ถึง มีนาคม 2555 คัดเลือกกลุ่มแบบเจาะจง เลือกเข้ากลุ่มทดลอง 8 ราย กลุ่มควบคุม 8 ราย โดยวิธีการจับคู่ตามเพศ อายุ และพฤติกรรมดื่มสุรา กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อลดพฤติกรรมการดื่มสุรา กลุ่มควบคุมได้รับการให้สุขศึกษาซึ่งเป็นการดูแลตามปกติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านน้ำแพร่ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.85 และโปรแกรมการฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม วิเคราะห์โดยใช้สถิตินอนพาราเมตริกชนิดแมน-วิทนี ยูและวิลคอกซัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ก่อนเข้าโปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ผู้ดื่มสุราแบบเสี่ยงที่ได้รับโปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล และไม่ได้รับโปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล มีคะแนนพฤติกรรมการดื่มสุราไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ภายหลังการใช้โปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ผู้ดื่มสุราแบบเสี่ยงที่ได้รับโปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล มีคะแนนพฤติกรรมการดื่มสุราลดลงกว่าก่อนผู้ที่ดื่มสุราแบบเสี่ยงที่ไม่ได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ภายหลังการใช้โปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ผู้ที่ดื่มสุราแบบเสี่ยง มีคะแนนพฤติกรรมการดื่มสุราลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ดื่มสุราแบบเสี่ยงที่ไม่ได้รับโปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ก่อนทดลองและหลังทดลอง มีคะแนนพฤติกรรมการดื่มสุราไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล สามารถช่วยให้บุคคลสื่อสารระหว่างกันดีขึ้นส่งผลให้พึ่งพาสุราลดลง จึงลดพฤติกรรมการดื่มสุราได้ จึงควรนำโปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ไปใช้ในการดูแลผู้ดื่มสุราแบบเสี่ยงต่อไป |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1979 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Kitjakarn Kawilo.pdf | Kitjakarn Kawilo | 1.19 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น