Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1979
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกาวิโล, กิจการ-
dc.date.accessioned2023-06-21T02:43:49Z-
dc.date.available2023-06-21T02:43:49Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=450&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1979-
dc.description.abstractการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบเสี่ยงในชุมชน จัดเป็นปัญหาสังคมที่มีความรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ โปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล เพื่อลดพฤติกรรมการดื่มสุรา เป็นโปรแกรมหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ปัญหาด้านการสื่อสารให้กับผู้ที่ดื่มสุราแบบเสี่ยงลดการดื่มสุราได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล เพื่อลดพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ดื่มสุราแบบเสี่ยง ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2554 ถึง มีนาคม 2555 คัดเลือกกลุ่มแบบเจาะจง เลือกเข้ากลุ่มทดลอง 8 ราย กลุ่มควบคุม 8 ราย โดยวิธีการจับคู่ตามเพศ อายุ และพฤติกรรมดื่มสุรา กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อลดพฤติกรรมการดื่มสุรา กลุ่มควบคุมได้รับการให้สุขศึกษาซึ่งเป็นการดูแลตามปกติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านน้ำแพร่ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินปัญหาการดื่มสุรา มีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.85 และโปรแกรมการฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม วิเคราะห์โดยใช้สถิตินอนพาราเมตริกชนิดแมน-วิทนี ยูและวิลคอกซัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ก่อนเข้าโปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ผู้ดื่มสุราแบบเสี่ยงที่ได้รับโปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล และไม่ได้รับโปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล มีคะแนนพฤติกรรมการดื่มสุราไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ภายหลังการใช้โปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ผู้ดื่มสุราแบบเสี่ยงที่ได้รับโปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล มีคะแนนพฤติกรรมการดื่มสุราลดลงกว่าก่อนผู้ที่ดื่มสุราแบบเสี่ยงที่ไม่ได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ภายหลังการใช้โปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ผู้ที่ดื่มสุราแบบเสี่ยง มีคะแนนพฤติกรรมการดื่มสุราลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ดื่มสุราแบบเสี่ยงที่ไม่ได้รับโปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ก่อนทดลองและหลังทดลอง มีคะแนนพฤติกรรมการดื่มสุราไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัย แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล สามารถช่วยให้บุคคลสื่อสารระหว่างกันดีขึ้นส่งผลให้พึ่งพาสุราลดลง จึงลดพฤติกรรมการดื่มสุราได้ จึงควรนำโปรแกรมฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคล ไปใช้ในการดูแลผู้ดื่มสุราแบบเสี่ยงต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectทักษะการสื่อสารen_US
dc.subjectสุราen_US
dc.subjectผู้ดื่มสุราen_US
dc.subjectCommunication skillsen_US
dc.subjectSpiritsen_US
dc.subjectAlcoholicen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลเพื่อลดพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ดื่มสุราแบบเสี่ยงในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านน้ำแพร่ ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงรายen_US
dc.title.alternativeEffect of Interpersonal Communication Skills Training Program for Reducing Alcohol Drinking in Ha Zardous use, Namphare Sub District Health Promoting Hospital, Yanghom Tambon, Khuntan District, Chiang Rai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kitjakarn Kawilo.pdfKitjakarn Kawilo1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.