กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1974
ชื่อเรื่อง: ศึกษาต้นแบบของสถาบันการเงินที่พัฒนามาจากกองทุนหมู่บ้านผ่านการบริหารจัดการของ ธ.ก.ส. เพื่อพัฒนาเป็นธนาคารชุมชน จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Best Practices Micro-Finance Community Management of Baac Enhancing to the Community Bank at Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กัลยา, รุ่งนภา
คำสำคัญ: โครงการธนาคารชุมชน
สถาบันการเงินชุมชน
กองทุนหมู่บ้าน
Community Bank Project
Community financial institution
Village fund
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=381&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค้นหาต้นแบบของสถาบันการเงิน ที่พัฒนามาจากกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ และกลุ่มอาชีพผ่านการบริหารจัดการของ ธ.ก.ส. เพื่อพัฒนาเป็นธนาคารชุมชนจังหวัดพะเยา โดยทำการประเมินค้นหาจาก จำนวนสถาบันการเงินชุมชน ที่เข้าร่วมโครงการธนาคารชุมชน สังกัด ธ.ก.ส. ในจังหวัดพะเยา จำนวน 6 สถาบันการเงิน การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและสังเคราะห์ การค้นหาต้นแบบสถาบันการเงินเพื่อพัฒนาเป็นธนาคารชุมชนกระทำภายใต้การประเมินปัจจัย 4 ปัจจัย คือ ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเงิน ด้านสมาชิก และด้านการเรียนรู้และพัฒนาคณะกรรมการ การค้นหาต้นแบบสถาบันการเงินเพื่อพัฒนาเป็นธนาคารชุมชน จึงเป็นหลักการที่ว่า สถาบันการเงินชุมชนที่จะเป็นต้นแบบที่สามารถพัฒนา เป็นธนาคารชุมชนได้จะต้องมีคะแนนการประเมินสูงที่สุด รวมคะแนน 100 คะแนน จากการศึกษาการประเมินผลสถาบันการเงินชุมชน ภายใต้โครงการธนาคารชุมชนสังกัด ธ.ก.ส. จำนวน 6 แห่งในจังหวัดพะเยา จากปัจจัย 4 ด้าน คือ ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเงิน ด้านสมาชิก และด้านการเรียนรู้และพัฒนาคณะกรรมการ เพื่อค้นหาต้นแบบสถาบันการเงินชุมชนที่พัฒนาเป็นธนาคารชุมชน พบว่า สถาบันการเงินที่ผ่านเกณฑ์ 65 คะแนน 4 แห่ง คือ สถาบันการเงินชุมชนตำบลนาปรัง อำเภอปง จังหวัดพะเยา สถาบันการเงินชุมชนบ้านแม่ต๋ำ หมู่ 4 ตำบลน้ำแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา สถาบันการเงินชุมชนบ้านแฮะ ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา สถาบันการเงินชุมชนตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา และสถาบันการเงินชุมชนตำบลนาปรัง อำเภอปง จังหวัดพะเยา มีคะแนนการประเมินรวมสูงที่สุด คือ คะแนน 86 คะแนน จาก 100 คะแนน จึงสามารถสรุปได้ว่าเป็นสถาบันการเงินชุมชนต้นแบบที่จะสามารถพัฒนาเป็นธนาคารชุมชน จังหวัดพะเยา สถาบันการเงินชุมชนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ได้แก่ สถาบันการเงินชุมชนตำบลเชียงม่วน อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา และสถาบันการเงินชุมชนบ้านงิ้วใต้ ตำบลบ้านสาง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ผลการประเมินที่ต่ำกว่าเกณฑ์ สาเหตุมาจากปัจจัยด้านความมั่นคงทางด้านการเงิน และด้านความสำเร็จของการสะสมทุน
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1974
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Rungnapa Kanlaya.pdfRungnapa Kanlaya1.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น