กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1964
ชื่อเรื่อง: | สภาพและแนวทางการแก้ปัญหาการใช้สารเสพติดของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคพะเยา จังหวัดพะเยา |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อินต๊ะสาร, ชวลิต เครือน้อย, นพรัตน์ มังคลาด, ชวลิต คนเที่ยง, สุมาลี |
คำสำคัญ: | สารเสพติด นักศึกษา การแก้ไขปัญหา จังหวัดพะเยา |
วันที่เผยแพร่: | 2547 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการใช้สารเสพติดของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคพะเยา เพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติดของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคพะเยา และเพื่อศึกษาความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติดของนักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคพะเยา ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคพะเยา จังหวัดพะเยาที่กำลังศึกษา ปีการศึกษา 2546 และผู้ปกครองนักศึกษาได้ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยนักศึกษาและผู้ปกครอง จำนวน 464 คน โดยใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกน (R.V.Krejcie and D.W.Morgan) กำหนดขนาดด้วยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Mulistage Random Sampling) คณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ รวม 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด แบบสอบถาม สำหรับนักศึกษา และผู้ปกครองนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคพะเยา จังหวัดพะเยา การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยทำในรูปตารางและความเรียง ผลการศึกษาค้นคว้าสรุปได้ดังนี้ 1) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคพะเยา จังหวัดพะเยา พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่เคยใช้สารเสพติด และชนิดของสารเสพติดที่นักศึกษา เคยใช้ส่วนใหญ่ คือ สุรา รองลงมาได้แก่ บุหรี่ สาเหตุที่ใช้ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากอยากลองเสพด้วยตัวเอง รองลงมาเพื่อนชักชวน แหล่งและวิธีการได้มาของสารเสพติดนั้นมาจากซื้อเอง รองลงมามีเพื่อนนำมาให้ และมีผลกระทบในด้านจิตใจมากที่สุด รองลงมามีผลกระทบต่อการเรียน ส่วนใหญ่นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโทษและภัยของสารเสพติด โดยได้รับความรู้จากสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ และสถานศึกษา ความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับสารเสพติด นักศึกษามีความคิดเห็นว่าในการแก้ปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษาควรจัดกิจกรรม เช่น โครงการเพื่อนเตือนเพื่อน ค่ายเยาวชน อาสาสมัครเพื่อต่อต้านยาเสพติด ค่ายเยาวชนต้นกล้า และการแข่งขันกีฬาสีประจำปี 2) ความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับการดำเนินงานป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติดของนักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคพะเยา จังหวัดพะเยา พบว่า ผู้ปกครองมีความต้องการในการป้องกันและแก้ปัญหาสารเสพติดแก่นักศึกษาอยู่ระดับมาก ต้องการให้มีการพัฒนาความรู้พื้นฐานในการป้องกันการเสพสารเสพติดแก่นักศึกษามากที่สุด รองลงมาได้แก่ ให้สถานศึกษาจัดให้มีการพัฒนาความรู้พื้นฐานในการป้องกันสารเสพติดแก่บุคคลากรในสถานศึกษา ให้สถานศึกษาสอดแทรกความรู้และวิธีป้องกันสารเสพติดในการเรียนการสอนรายวิชาต่าง ๆ และสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษานักศึกษาในการดูแล แนะนำ และป้องกันปัญหาการเสพสารเสพติด และจัดให้มีกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดตามลำดับ |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1964 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Chawalit.pdf | Chawalit | 19.57 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น