กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1922
ชื่อเรื่อง: | ความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจฟาร์มสุนัข ในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A Feasibility Study of Investment on Dog-Breeding Farm in Muang District, Phayao Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมหวังศิริ, บุษบากร |
คำสำคัญ: | ความเป็นไปได้ ธุรกิจฟาร์มสุนัข Feasibility Dog farm business |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
แหล่งอ้างอิง: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1107&doc_type=0&TitleIndex=1 |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจฟาร์มสุนัข ในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบธุรกิจฟาร์มสุนัข ในจังหวัดพะเยา ที่จดทะเบียนกับสมาคมผู้เลี้ยงสุนัข จำนวน 25 ฟาร์ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการธุรกิจฟาร์มสุนัข จำนวน 3 ฟาร์ม โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้านด้านการตลาด ด้านปฏิบัติการ ด้านการจัดการ โดยการจำแนกและจัดข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้ วิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงิน โดยการวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value) วิเคราะห์อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return) วิเคราะห์อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (Benefit-Cost Ratio: B/C Ratio) และวิเคราะห์งวดเวลาคืนทุน (Payback Period ) ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) การวิเคราะห์ด้านการตลาด พบว่า ธุรกิจฟาร์มสุนัขใน อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ปัจจุบันมีที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชน เป็นฟาร์มระบบปิดเพื่อป้องกันปัญหาโรคติดต่อ และมีบริการหลังการขายที่ดี ในระยะแรกของการเริ่มทำธุรกิจ มีค่าใช้จ่ายสูงในการประชาสัมพันธ์ฟาร์ม เพื่อให้เป็นที่รู้จักของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ คือ มีคู่แข่งจำนวนมาก อีกทั้งเนื่องจากในจังหวัดพะเยาไม่มีสนามบิน และไม่มีสถานีรถไฟ ทำให้การจัดส่งสุนัขมีค่าใช้จ่ายสูง 2) การวิเคราะห์ด้านปฏิบัติการ พบว่า สุนัขที่จำหน่าย ควรมีลักษณะตรงตามสายพันธุ์ มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ได้รับวัคซีน และถ่ายพยาธิโดยสัตวแพทย์ เนื้อที่ของฟาร์ม ควรมีขนาด ไม่ต่ำกว่า 300 ตารางวา และควรอยู่ห่างจากชุมชน ในระยะไม่เกิน 15 กิโลเมตร และมีระบบสาธารณูปโภคครบครัน เพื่อให้ลูกค้าเดินทางสะดวก มีการจัดทำโรงเรือนระบบปิด แยกเป็นสัดส่วน เพื่อป้องกันโรค และมีอากาศถ่ายเทสะดวก อุปกรณ์ที่ใช้ในโรงเรือน ควรได้มาตรฐาน 3) การวิเคราะห์ด้านการจัดการ พบว่า การลงทุนในธุรกิจฟาร์มสุนัขในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา สามารถดำเนินการในรูปแบบเจ้าของคนเดียวได้ ทรัพยากรบุคคลที่ควรมีอยู่เพื่อการปฏิบัติงาน จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน 4) การวิเคราะห์ด้านการเงิน พบว่า ระยะเวลาคืนทุน เท่ากับ 2 ปี 2 เดือน มูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 3,922,887 บาท อัตราตอบแทนภายในเท่ากับ 35.10 เปอร์เซ็นต์ และอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนเท่ากับ 1.58 เท่า แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจฟาร์มสุนัขในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีความเป็นไปได้และคุ้มค่าในการลงทุน เป็นไปตามสมมติฐานงานวิจัย |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1922 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Budsabakorn Somwangsiri.pdf | Budsabakorn Somwangsiri | 1.55 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น