Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1849
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorพัชรมณี, พรจรรย์-
dc.date.accessioned2023-02-23T04:44:02Z-
dc.date.available2023-02-23T04:44:02Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=943&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1849-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางในการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการระบบคุณภาพ ในโรงเรียนมาตรฐานสากลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาพรวม อยู่ในระดับ 5 ดีมาก และแนวทางการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลลัพธ์ และสภาพแวดล้อม 2) รูปแบบการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 3 เงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย บุคลากรและการบริหารสถานศึกษา กระบวนการ (Process) ประกอบด้วย การนำองค์กร การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมุ่งเน้นผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การมุ่งเน้นบุคลากร การมุ่งเน้นการปฏิบัติการ การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ และผลลัพธ์ (Outcomes) ประกอบด้วย ผลลัพธ์ด้านหลักสูตรและกระบวนการ ด้านการมุ่งเน้นผู้เรียน ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ด้านการนำองค์กรและการกำกับดูแลองค์กร ด้านการเงิน และสมรรถนะการให้บริการ สภาพแวดล้อม (Environment) ประกอบด้วย ปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารจัดการและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการ และเงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ ความชัดเจนในนโยบายการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ความรู้ความสามารถด้านการบริหารจัดการระบบคุณภาพ ด้านจัดกระบวนการเรียนรู้ และการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือกับโรงเรียนในต่างประเทศของบุคลากรในโรงเรียน การนิเทศ ติดตาม และประเมินผลอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอของหน่วยงานต้นสังกัด และ 3) การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และความมีประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุดen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectรูปแบบการบริหารจัดการระบบคุณภาพen_US
dc.subjectโรงเรียนมาตรฐานสากลประถมศึกษาen_US
dc.subjectการบริหารจัดการen_US
dc.subjectระบบคุณภาพen_US
dc.subjectโรงเรียนมาตรฐานสากลen_US
dc.subjectThe quality system management modelen_US
dc.subjectWorld-Class Standard Schoolen_US
dc.subjectPrimary educationalen_US
dc.subjectManagementen_US
dc.subjectQuality systemen_US
dc.titleรูปแบบการบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาen_US
dc.title.alternativeThe Quality System Management Model in World-Class Standard Schools for the Primary Educational Service Area Officeen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornchan Patcharamanee.pdfPornchan Patcharamanee4.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.