กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1813
ชื่อเรื่อง: การนำใบของไก่แดง (Aeschynanthus sp.) มาชักนำให้เกิดแคลลัสโดยการใช้ BA Kn และ TDZ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Callus Induction and Organogenesis Capaity From Leaf Explant of Aeschynanthus sp. by BA Kn and TDZ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บัวป้อม, กุลวัฒน์
ปัญญาสิทธิ์, ศศิธร
คำสำคัญ: การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
ไก่แดง
แคลลัส
Plant tissue culture
Aeschynanthus sp.
Callus
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: การศึกษาการเพาะเลี้ยงไก่แดง (Aeschynanthus sp.) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารควบคุมการเจริญเติบไซโตไคนินที่ความเข้มข้นต่าง ๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาเป็นแคลลัส ต้นใหม่ ราก และใบ และศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำแคลลัสให้เกิดต้นใหม่ โดยการนำชิ้นส่วนเริ่มต้นของไก่แดง คือ ใบ เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติมด้วย BA Kn และ TDZ ที่ระดับความเข้มข้น 0.1 0.5 1.0 และ 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า สูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดยอดใหม่สูงสุดเฉลี่ย 1.12 ยอดต่อชิ้นส่วนเริ่มต้น สูตรอาหาร MS ที่เติม TDZ ความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดต้นใหม่และใบสูงสุดเฉลี่ย 4.35 ต้นต่อชิ้นส่วนเริ่มต้น และ 4.62 ใบต่อชิ้นส่วนตามลำดับ สูตรอาหาร MS ที่เติม Kn ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดรากสูงสุดเฉลี่ย 0.07 รากต่อชิ้นส่วน และสูตรอาหาร MS ที่เติม TDZ ความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสสูงสุดเฉลี่ย 0.33 มิลลิเมตรต่อชิ้นส่วน
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1813
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:คณะวิทยาศาสตร์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Kunrawat Buapom.pdfKunrawat Buapom1.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น