Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1772
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเรือแก้ว, น้ำทิพย์-
dc.contributor.authorมาน้อย, ปราณี-
dc.date.accessioned2022-09-14T07:54:15Z-
dc.date.available2022-09-14T07:54:15Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1772-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เทียบกับเกณฑ์ 75% 2) ศึกษาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) ศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการดำเนินทดลองสอน เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ดำเนินการทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้อง 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม จังหวัดพะเยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จำนวน 27 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบ 4 MAT 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3) แบบบันทึกและเกณฑ์การวัดทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ 4) แบบบันทึกและเกณฑ์การวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 4 MAT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ 75% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ มีทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์โดยภาพรวม อยู่ในระดับ ดี เมื่อด้านการแก้ปัญหา, การสื่อสารฯ และการเชื่อมโยง อยู่ในช่วงระดับดี แต่เมื่อพิจารณาในร้อยละของความถี่ ด้านการแก้ปัญหาอยู่ในช่วงระดับคะแนนดีมาก ที่ 38.11 ในช่วงระดับคะแนนดี ที่ 47.41, ด้านการสื่อสารฯ อยู่ในช่วงระดับคะแนนดีมาก ที่ 36.27 ในช่วงระดับคะแนนดี ที่ 41.45 และด้านการเชื่อมโยงอยู่ในช่วงระดับคะแนนดีมาก ที่ 33.31 ในช่วงระดับคะแนนดี ที่ 42.59 แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีอยู่ในระดับ ปานกลาง คือ ด้านการให้เหตุผล ที่อยู่ในช่วงระดับคะแนนดี ที่ 38.86 ในช่วงระดับคะแนนปานกลาง ที่ 38.48 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในภาพรวม อยู่ในระดับดี เมื่อด้านมีวินัย, ด้านใฝ่เรียนรู้ และด้านมุ่งมั่นในการทำงาน อยู่ในระดับดี แต่เมื่อพิจารณาในร้อยละของความถี่ ด้านมีวินัย อยู่ในช่วงระดับคะแนนดี ที่ 46.67 ในช่วงระดับคะแนนปานกลาง ที่ 30.72, ด้านใฝ่เรียนรู้ อยู่ในช่วงระดับคะแนนดีมาก ที่ 32.56 ในช่วงระดับคะแนนดี ที่ 48.51 และด้านมุ่งมั่นในการทำงาน อยู่ในช่วงระดับคะแนนดีมาก ที่ 32.19 ในช่วงระดับคะแนนดี ที่ 52.21en_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTADen_US
dc.subjectการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MATen_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์en_US
dc.subjectอัตราส่วนและร้อยละen_US
dc.titleการศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2en_US
dc.title.alternativeStudy the Result of Cooperative Learning Technique with STAD and 4 MAT Learning Cycle of Ratios and Percentages of Matthayomsuksa Two, Dokkhamtaiwittakhom Schoolen_US
dc.typeOtheren_US
Appears in Collections:คณะวิทยาศาสตร์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Namtip Ruakaew.pdfNamtip Ruakaew3.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.