กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1673
ชื่อเรื่อง: | การปรับปรุงคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลาย Mucor ellipsoideus (UPPY06), Rhizopus oryzae (UPPY29) และ Trichoderma harzianum (UPPY19) เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต ปริมาณผลผลิต และควบคุมโรคแอนแทรคโนส และโรคเหี่ยวเหลืองพริก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Quality Improvement of Organic Fertilizer from Water Hyacinth Composted from Biodegradable Fungi, Mucor Ellipsoideus (Uppy06), Rhizopus Oryzae (Uppy29) and Trichoderma Harzianum (Uppy19 to Enhance the Growth and Productivity and Control of Anthracnose and Fusarium Wilt on Chili |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ยะแสง, นัทธพงศ์ |
คำสำคัญ: | ปุ๋ยอินทรีย์ ผักตบชวา ราย่อยสลาย พริก Bio-organic fertilizer Water hyacinth Biodegradation Chili |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
แหล่งอ้างอิง: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1577&doc_type=0&TitleIndex=1 |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลาย Mucor ellipsoideus (UPPY06), Rhizopus oryzae (UPPY29) และ Trichoderma harzianum (UPPY19) เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต ปริมาณผลผลิต และควบคุมโรคแอนแทรคโนสและโรคเหี่ยวเหลืองพริก ทำการทดลอง 5 การทดลอง ได้แก่ การทดลองที่ 1 การศึกษาประสิทธิภาพของราย่อยสลายทั้ง 3 ชนิด ต่อการยับยั้งราสาเหตุโรคแอนแทรคโนส (Colletotrichum capsici) และโรคเหี่ยวเหลือง (Fusarium solani) ของพริก โดยวิธี dual culture technique พบว่า รา R. Oryzae, T. Harzianum และ M. Ellipsoideus สามารถยับยั้งการเจริญของรา C. Capsici เท่ากับ 83.52, 73.38 และ 68.31 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และยับยั้งรา F. Solani เท่ากับ 74.76, 70.56 และ 50.58 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การทดลองที่ 2 การศึกษาอัตราส่วนผสมของวัตถุดิบที่เหมาะสมในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวา และผลการตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวา ต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและปริมาณผลผลิตพริก พบว่า อัตราส่วนของผักตบชวาหมัก แร่ลีโอนาไดท์ หินภูเขาไฟ มูล สุกร และมูลไก่ เท่ากับ 4:1:1:2:2 มีคุณสมบัติโดยรวมดีที่สุด โดยมีอินทรียวัตถุ ไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสทั้งหมด และโพแทสเซียมทั้งหมด เท่ากับ 26.93, 1.51, 2.52 และ 3.27 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และส่งผลต่อการเจริญเติบโตและปริมาณผลพริกมากที่สุด การทดลองที่ 3 การผลิต คุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลายที่ผลิตได้จากการผลิตระดับโรงงาน โดยใช้อัตรา 4:1:1:2:2 พบว่า ปุ๋ยอินทรีย์มีคุณสมบัติสม่ำเสมอ โดยมีอินทรียวัตถุ ไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสทั้งหมด และโพแทสเซียมทั้งหมด เท่ากับ 27.59, 1.63, 2.59 และ 3.14 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์พระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 และเมื่อแยกเชื้อกลับพบราย่อยสลายทั้ง 3 ชนิด 100 เปอร์เซ็นต์ โดยมีจำนวนสปอร์ของราทั้งหมด เท่ากับ 9.52×105 สปอร์/มิลลิลิตร การทดลองที่ 4 ผลของปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลาย ในระดับโรงงานต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพริก พบว่า ความสูงของต้นกรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยเคมี กรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ จากผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลาย และกรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์โรงงานมีความสูงมากที่สุด เท่ากับ 92.60, 90.20 และ 84.70 เซนติเมตร ตามลำดับ แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) ส่วนผลผลิต พบว่า จำนวนผลสดสีแดง น้ำหนักผลสดสีแดง และน้ำหนักผลแห้ง กรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลายมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 456.60 ผล, 633.75 กรัม และ 165.41 กรัม ตามลำดับ การทดลองที่ 5 การทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ จากผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลายระดับโรงงาน ต่อการควบคุมโรคแอนแทรคโนส และโรคเหี่ยวเหลืองพริกระดับโรงเรือน พบว่า กรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาที่หมักด้วยราย่อยสลาย มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคบนต้น และบนผลพริกน้อยสุด เท่ากับ 10.00 และ 3.37 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และสามารถควบคุมโรคเหี่ยวเหลือง โดยมีคะแนนและเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคน้อยที่สุด เท่ากับ 0.42 คะแนน และ 8.33 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1673 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Natthaphong Yasaeng.pdf | Natthaphong Yasaeng | 3.7 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น