กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1623
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยและเงื่อนไขที่มีผลต่อแรงจูงใจของทันตแพทย์ในการเข้าร่วมเป็นอาจารย์สมทบในกระบวนวิชาทันตกรรมชุมชนปฏิบัติ (DCOP602): การศึกษาเชิงคุณภาพ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors and Conditions Related to Community Dentists’ Motivation for Involving in the Community Dentistry Practice Course: A Qualitative Study |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ไชยประสิทธิ์, ศศิธร วณิชย์สายทอง, ปิ่นปินัทธ์ กาญจนกามล, อุทัยวรรณ คอวนิช, กันยารัตน์ จาติเกตุ, ปิยะนารถ ตวงรัตน์, พันธ์ วิวัฒน์คุณูปการ, ธิดาวรรณ ศรีศิลปนันทน์, พัชราวรรณ วิวัฒน์คุณูปการ, วิชัย จึงพัฒนาวดี, อติศักดิ์ นิรันต์สิทธิรัชต์, อารีรัตน์ |
คำสำคัญ: | กระบวนวิชาทันตกรรมชุมชนปฏิบัติ ทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน พี่เลี้ยง แรงจูงใจ Community Dentistry Practice Course Community dentist Mentor Motivation |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
บทคัดย่อ: | กระบวนวิชาทันตกรรมชุมชนปฏิบัติเป็นกระบวนวิชาที่มีลักษณะเฉพาะ คือ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างอาจารย์มหาวิทยาลัยและทันตแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และที่สำคัญเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานกับชุมชน โดยสัมพันธ์กับแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ อันก้าวพ้นไปจากความคุ้นเคย และประสบการณ์เดิมของทันตแพทย์ที่มีต้นทุนเพียงการดูแลช่องปาก งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่มีผลต่อแรงจูงใจของทันตแพทย์ดังกล่าว โดยทำการศึกษาในทันตแพทย์ที่เข้าร่วมในการจัดการเรียนการสอนในวิชาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จำนวน 21 คน และครอบคลุมตั้งแต่ผู้ที่มีประสบการณ์ร่วมในการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงปัจจุบัน การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาข้อมูลเอกสาร ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้ที่ริเริ่มหลักสูตรในส่วนของมหาวิทยาลัย และทันตแพทย์ที่เข้าร่วมในการเตรียมการหลักสูตร จากนั้นทำการสนทนากลุ่มกับทันตแพทย์ที่คัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง ทำการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง กันยายน 2556 รวมระยะเวลา 5 เดือน จากการศึกษามีข้อค้นพบหลักที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้ 1) กระบวนการจัดการในส่วนของฝ่ายอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ยืดหยุ่น และใช้ความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการมีความสำคัญต่อแรงจูงใจในการเข้าร่วมจัดการเรียนรู้ของทันตแพทย์ในพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเริ่มต้น 2) แรงจูงใจส่วนบุคคลของทันตแพทย์พี่เลี้ยงที่เข้าร่วมในการเรียนการสอน ส่วนใหญ่มาจากแรงจูงใจที่เกี่ยวโยงกับความสำเร็จในหน้าที่การงาน หรือที่เรียกว่าแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เช่น ความต้องการถ่ายทอดความคิดและความรู้ที่มาจากประสบการณ์ในการทำงาน และมีบางส่วนที่เป็นแรงจูงใจอันเกิดมาจากความรู้สึกผูกพัน หรือที่เรียกว่า แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ เช่น ความต้องการช่วยเหลือหรือตอบแทนสถาบันการศึกษาที่ตนสำเร็จมา 3) เงื่อนไขแวดล้อมที่ผลักดันแรงจูงใจส่วนบุคคลของทันตแพทย์มาสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคลและนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดที่ต่อการรับนักศึกษาฝึกปฏิบัติงาน |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1623 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Research |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Sasitorn Chaiprasitti.pdf | Sasitorn Chaiprasitti | 814.09 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น