กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/142
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาแนวทางในการดำเนินงานกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A Study Guiding Implementation to Professional Learning Community Process of School Administrators Prapariyattidham School, General Education Department, Chiang Rai Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปิจจะ, อดุลวิทย์ |
คำสำคัญ: | กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา Professional learning community Prapariyattidham School the General Education Department |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
แหล่งอ้างอิง: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1455&doc_type=0&TitleIndex=1 |
บทคัดย่อ: | การศึกษาแนวทางในการดำเนินงานกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการดำเนินงานกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน รวมทั้งสิ้นจำนวน 186 รูป/คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า แนวทางในการดำเนินงานกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมอยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ร่วม ด้านชุมชนกัลยาณมิตร ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ ด้านภาวะผู้นำร่วม และด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชน ข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงรายพบว่า 1) วิสัยทัศน์ร่วมผู้บริหารสถานศึกษาควรเห็นเป้าหมายวิชาชีพครูในการทำงาน ปฏิรูปการเรียนรู้ที่มุ่งการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง สมาชิกชุมชนและผู้นำชุมชน 2) ทีมร่วมแรงร่วมใจ ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ วางแผนการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน เพื่อให้บรรลุที่การเรียนของผู้เรียน 3) ภาวะผู้นำร่วม ผู้บริหารสถานศึกษาควรเป็นผู้นำให้ครูเกิดการเรียนรู้ มีการกระจายอำนาจเพื่อคุณภาพของผู้เรียน 4) การเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพครู ลงมือปฏิบัติจริงร่วมกันกับครู เรียนรู้ถึงจิตวิญญาณความเป็นครู 5) ชุมชนกัลยาณมิตร ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ครูมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เคารพซึ่งกันและกันในสถานศึกษา ลดความโดดเดี่ยวระหว่างการปฏิบัติงานสอนของครู 6) โครงสร้างสนับสนุนชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษาควรลดขั้นตอนในการทำงาน ลดความขัดแย้งของครูผู้สอนกับฝ่ายบริหารให้น้อยลง การบริหารเน้นรูปแบบทีมงานเป็นหลัก |
URI: | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/142 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
59170259.pdf | Phra Adulwit Pitja | 1.55 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น