กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1367
ชื่อเรื่อง: การเข้าสู่วาระนโยบายอารยสถาปัตย์ระดับท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Agenda Setting of Universal Design Policy at Local Level in Pongpha Subdistrict, Mae Sai District, Chiang Rai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิติมณฑล, ธีรดา
คำสำคัญ: การเข้าสู่วาระนโยบาย
นโยบายระดับท้องถิ่น
อารยสถาปัตย์
Agenda setting
Local Policy
Universal Design
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1525&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเข้าสู่วาระนโยบายอารยสถาปัตย์ระดับท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และเพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าสู่วาระนโยบาย และบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำให้ประเด็นปัญหาสิ่งอำนวยความสะดวกคนพิการเข้าสู่วาระนโยบายอารยสถาปัตย์ในระดับท้องถิ่น โดยใช้กรอบแนวคิดพหุกระแสของคิงดอน (Kingdon’s Multiple Streams) ในการวิเคราะห์กระบวนการเข้าสู่วาระนโยบาย และใช้วิธีการวิจัยทางเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีบทบาทและมีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายอารยสถาปัตย์ในพื้นที่ตำบลโป่งผา จำนวนทั้งหมด 6 คน เป็นตัวแทนของผู้ให้ข้อมูลสำคัญสามกลุ่ม คือ ผู้มีบทบาทในด้านนโยบายระดับท้องถิ่น ผู้มีส่วนผลักดันในด้านการเมือง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านปัญหาที่เกี่ยวกับนโยบายอารยสถาปัตย์ในพื้นที่ จากผลการศึกษาที่ได้แสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าสู่วาระนโยบายอารยสถาปัตย์ระดับท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลโป่งผา คือ กระแสนโยบาย ที่พบว่าผู้เชี่ยวชาญที่เป็นข้าราชการปฏิบัติการมีบทบาทในการผลักดันให้นโยบายอยู่ในความสนใจของผู้มีอำนาจตัดสินใจได้ เนื่องจากโครงสร้างของการบริหารงานที่ผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านระเบียบข้อกฎหมายสามารถเสนอประเด็นปัญหา หรือโครงการที่ควรได้รับการแก้ไขโดยอ้างอิงถึงอำนาจหน้าที่ทางกฎหมายที่เป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินนโยบายสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในขณะที่ผู้ผลักดันที่มีบทบาทในการผลักดันให้ปัญหาเข้าสู่วาระนโยบายได้ประกอบด้วย คนพิการที่ได้รับปัญหาและเรียกร้องให้ประเด็นปัญหาได้รับความสนใจ ผู้นำหมู่บ้านหรือผู้นำชุมชนมีอิทธิพลในการนำประเด็นปัญหาให้คนในชุมชนได้เห็นถึงความสำคัญที่จะกระทบต่อชุมชน ทำให้ชุมชนเห็นว่าเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข และจะทำให้ประเด็นปัญหาสิ่งอำนวยความสะดวกนี้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจในลำดับต่อไป รวมถึงนักการเมืองท้องถิ่นที่จะร่วมผลักดันเพื่อเข้าสู่วาระการตัดสินใจเกิดเป็นนโยบายต่อไปได้
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1367
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Teerada Nitimonthol.pdfTeerada Nitimonthol1.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น