Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/112
Title: | ศักยภาพโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในเกาะช้าง |
Other Titles: | The Potential of the Ecological Hotel in Koh Chang |
Authors: | นนทลักษณ์, เกริกไกร |
Keywords: | ศักยภาพของโรงแรม การจัดการสิ่งแวดล้อม โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Hotel potential Environmental management Ecological hotel |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
Citation: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1269&doc_type=0&TitleIndex=1 |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินทัศนคติและความรู้เรื่องโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการธุรกิจที่พักแรมในอําเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของอำเภอเกาะช้างจังหวัดตราด 3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา/อุปสรรคและข้อจํากัดในการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในอําเภอเกาะช้าง 4) เพื่อนำเสนอศักยภาพการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth interview) ด้วยคำถามแบบมีโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลมีจํานวน 40 คน ประกอบด้วยผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมหรือผู้จัดการโรงแรมระดับบริหาร จำนวน 20 คน และพนักงานระดับบริการ 20 คน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ให้ข้อมูลโดยรวมมีทัศนคติที่ดีรับรู้ ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการใส่ใจสิ่งแวดล้อม 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถแบ่งได้ 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ด้านบุคลากร ด้านการมีส่วนร่วม และด้านการบริหารจัดการ 3) ปัญหา/อุปสรรค และข้อจำกัดในการจัดการสิ่งแวดล้อมของโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหาปริมาณขยะมากเกินขีดการจัดการ ปัญหาขยะในทะเลและปัญหาไม่มีการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีเพื่อลดปริมาณขยะ ปัญหาการขาดแคลนน้ำช่วงหน้าแล้ง เพราะพื้นที่เกาะช้างมีเพียงระบบประปาชุมชุนและระบบประปาบาดาล มักพบปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคและบริโภคในฤดูแล้งระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวส่งผลกระทบต่อความสามารถรองรับนักท่องเที่ยว โรงแรมส่วนใหญ่จึงมีบ่อน้ำบาดาลส่วนตัวเพื่อใช้อุปโภคบริโภคภายใน แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับโรงแรม 4-5 ดาว ส่งผลให้โรงแรมระดับ 4-5 ดาวใหญ่ต้องเสียเงินซื้อน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้ 4) ศักยภาพการเป็นโรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด โดยพิจารณาตาม เกณฑ์มาตรฐานประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อม 3 เกณฑ์ ประกอบด้วยเกณฑ์แนวคิดโรงแรมใบไม้เขียว เกณฑ์แนวคิดโรงแรมสีเขียวและเกณฑ์แนวคิด 7 Greens ผลวิจัยพบว่า ทุกโรงแรมกลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีความรับผิดชอบต่อสังคมมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผู้บริโภคและลูกค้าตลอดจนสังคมโดยรวมแต่จะแตกต่างกันที่ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดของแต่ละโรงแรม เช่น โรงแรมขนาด 2-3 ดาว ที่สามารถบริหารจัดการปัญหา อุปสรรคได้ง่ายกว่า เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรบุคลากรที่น้อยการกำหนดนโยบายและแนวทางการปฏิบัติมีความชัดเจนส่งผลให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ |
URI: | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/112 |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
12.Kerkkrai Nonthalug.pdf | Kerkkrai Nonthalug | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.