กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1678
ชื่อเรื่อง: การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายอำเภองาว จังหวัดลำปาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Curriculum Administration Based on Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 of School Network in Ngao District, Lampang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วันดี, สุริยวัฒน์
คำสำคัญ: การบริหารจัดการ
หลักสูตรสถานศึกษา
Management
School Curriculum
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Core education curriculum
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=310&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่าย อำเภองาว จังหวัดลำปาง และเพื่อศึกษาปัญหา ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการส่งเสริมสนับสนุน ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และด้านกำกับดูแลคุณภาพประชากร ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูวิชาการโรงเรียน จำนวน 70 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูล โดย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายอำเภองาว จังหวัดลำปาง ในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริม สนับสนุน และด้านกำกับดูแล คุณภาพ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยที่สุด ตามลำดับ ปัญหาและข้อเสนอแนะ การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายอำเภองาว จังหวัดลำปาง ขาดการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ควรให้คณะกรรมการสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาขาดการพิจารณาคุณภาพ ความถูกต้อง เหมาะสม และขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ควรมีการพิจารณาคุณภาพ ความถูกต้อง เหมาะสม และขอคำแนะนำผู้เชี่ยวชาญ ขาดการเสนอหลักสูตร สถานศึกษา ระเบียบกรวัดผลประเมินผลต่อคณะกรรมการสถานศึกษา พิจารณาให้ความเห็นชอบ ควรมีการเสนอหลักสูตรสถานศึกษา และระเบียบการวัดผลประเมินผลต่อคณะกรรมการสถานศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบ ขาดการสร้างเครือข่ายให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ควรมีการสร้างเครือข่ายให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ขาดการวิจัยประเมินผล สรุปผลและนำผลการประเมินมาปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ควรมีการวิจัย ประเมินผล สรุปผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1678
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Suriyawat Wandee.pdfSuriyawat Wandee1.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น