กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1324
ชื่อเรื่อง: รูปแบบบริหารการพัฒนาครูเพื่อสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An Administrative Model for the Teacher Development for Enhancing Students to be Good Persons
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรเวก, สรายุทธ
คำสำคัญ: รูปแบบการบริหาร
การวิจัยการพัฒนาครู
พฤติกรรมการสอนของครู
การสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี
Administrative model
Teacher developing research
Teaching behavior of the teacher
Enhancing students to be good persons
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1555&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการสอนของครู เพื่อสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี ศึกษากลุ่มเสี่ยงและปัจจัยปกป้องของครูผู้สอนนักเรียนให้เป็นคนดี และศึกษารูปแบบบริหารการพัฒนาครูเพื่อสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี 360 คน เลือกจากประชากรโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบวัดมาตรประมาณรวมค่า จำนวน 10 แบบวัด มีค่าความสัมพันธ์รายข้อกับทั้งฉบับ (Item-total correlation: r) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.80 มีค่าความเที่ยง (α) ตั้งแต่ 0.73 ถึง 0.90 และยังมีแบบประเมินสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ เก็บข้อมูลจากครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี โดยประสานกับผู้บริหารของโรงเรียน เก็บข้อมูลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิโดยประสานเป็นรายบุคคล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยเชิงสาเหตุอธิบายพฤติกรรมของครูในการสอนนักเรียนให้เป็นคนดีในพฤติกรรมย่อย ได้ร้อยละ 31.2 ถึง 36.4 ในพฤติกรรมรวมได้ร้อยละ 44.7 ผลการวิเคราะห์รูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการสอนของครูเพื่อสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี โดยใช้โปรแกรม CB SEM–AMOS พบว่า รูปแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) การศึกษาได้พบกลุ่มเสี่ยงในพฤติกรรมของครูในการสอนนักเรียนให้เป็นคนดี 2 กลุ่ม คือ ครูที่มีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรีและครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 ปัจจัยปกป้องของกลุ่มเสี่ยงในพฤติกรรมย่อยอธิบายได้ร้อยละ 31.5 ถึง 39.1 ในพฤติกรรมรวมอธิบายได้ร้อยละ 65.5 3) รูปแบบการบริหารการพัฒนาครูเพื่อสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี มีผลการประเมินรายด้านและรวมค่าเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 70/75 ผลวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาครู และครูที่ต้องการพัฒนาตนเองเพื่อการสอนนักเรียนให้เป็นคนดี
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/1324
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ปริญญาเอก(Doctoral Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Sarayuth Woraweg doc.pdfSarayuth Woraweg5.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น