กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/856
ชื่อเรื่อง: | การระบายมลพิษอากาศจากการเผาไหม้ในที่โล่งในจังหวัดพะเยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Air Pollutant Emission from Open Burning in Phayao |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เรือนเงิน, ธนัตถ์นพนันท์ |
คำสำคัญ: | การเผาในที่โล่ง ค่าปัจจัยการระบาย บัญชีการระบายมลพิษอากาศ Burning in the open air Drainage factor Air pollution ventilation account |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
แหล่งอ้างอิง: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=427&doc_type=0&TitleIndex=1 |
บทคัดย่อ: | การเผาชีวมวลเป็นแหล่งกำเนิดหลักของปัญหาฝุ่นละอองในเขตภาคเหนือของประเทศไทย บัญชีการปล่อยมลพิษอากาศ คือ สิ่งสำคัญที่ต้องการในการจัดการคุณภาพอากาศ ข้อมูลชุดแรกของการปล่อยมลพิษอากาศจากการเผาชีวมวลในจังหวัดพะเยาได้มีการพัฒนาขึ้น ในการศึกษานี้ บัญชีการปล่อยมลพิษอากาศได้พัฒนาสำหรับข้อมูลปี พ.ศ. 2553 โดยใช้ข้อมูลการสำรวจระยะไกล ผลการประมาณการปล่อยมลพิษรายปีมีปริมาณดังนี้ SO2 1,343 ตันต่อปี NOx 3,865 ตันต่อปี CO 252,328 ตันต่อปี NMVOC 45,459 ตันต่อปี NH3 4,086 ตันต่อปี PM 104 ตันต่อปี PM2.5 21,554 ตันต่อปี PM10 43,577 ตันต่อปี BC 1,618 ตันต่อปี OC 12,073 ตันต่อปีและมีการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก CO2 3,801,622 ตันต่อปี CH4 16,533 ตันต่อปี จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง ตามพื้นที่และเวลา พบว่า พื้นที่ที่ถูกเผาที่พบมากที่สุด คือ อำเภอปง (55%) รองลงมา คือ อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงม่วน อำเภอเมือง อำเภอภูซาง อำเภอดอกคำใต้ อำเภอภูกามยาว อำเภอจุน และอำเภอแม่ใจ ตามลำดับ การเผาชีวมวลส่วนใหญ่พบในพื้นที่ป่าไม้ (93%) นอกจากนี้ยัง พบว่า การเผาส่วนใหญ่มีปริมาณมากในเดือนมีนาคม เมษายนและกุมภาพันธ์ |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/856 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thanutnopanun Ruanngern.pdf | Thanutnopanun Ruanngern | 2.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น