Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/532
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorคำมาเร็ว, จุฑามาศ-
dc.date.accessioned2020-11-13T03:37:13Z-
dc.date.available2020-11-13T03:37:13Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1381&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://10.209.10.67:8080/handle/123456789/532-
dc.description.abstractการวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานด้านการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา โดยผู้ศึกษาค้นคว้าได้เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 23 คน ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ ปลัดเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ จำนวน 4 คน กลุ่มสมาชิกสภาเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ จำนวน 4 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth interview) และการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus groups interviews) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย กลุ่มประธานผู้สูงอายุในแต่ละหมู่บ้าน จำนวน 12 หมู่บ้าน จำนวน 12 คน และกลุ่มพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักปลัดเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิเคราะห์ พบว่า ด้านการสำรวจคุณสมบัติผู้สูงอายุ พบว่า มีการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุเป็นรายบุคคลทำให้เกิดการล่าช้า จำนวนบุคลากรที่ดำเนินการไม่เพียงพอ ด้านการคัดเลือก และขออนุมัติผู้สูงอายุรับเบี้ยยังชีพ พบว่า ดำเนินตามแนวทางจึงทำให้งานล่าช้า ซึ่งเป็นข้อจำกัดของเรื่องระยะเวลา จำนวนผู้สูงอายุมีจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินการ ด้านการจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้สูงอายุ พบว่า เจ้าหน้าที่มีภาระงานมากเกินไป ทางผู้นำหมู่บ้านขาดการประสานงาน และให้ความร่วมมือไม่เต็มที่ และดำเนินการตามข้อจำกัดของระเบียบกฎหมายและตามแนวทาง ด้านการขออนุมัติเปลี่ยนแปลงผู้สูงอายุรับเบี้ยยังชีพ พบว่า ขั้นตอนที่ยุ่งยากมีข้อจำกัดของระเบียบกฎหมาย จำกัดด้วยเรื่องของเวลา และเอกสารของผู้สูงอายุไม่ครบ ส่งไม่ตามกำหนด ทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ ด้านการเบิกจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีข้อจำกัดของระเบียบกฎหมาย จำกัดด้วยเรื่องของเวลา บุคลากรดำเนินจ่ายเบี้ยไม่เพียงพอ พบว่า ด้านการติดตามผลการจ่ายเบี้ยยังชีพ เจ้าหน้าที่มีไม่เพียงพอ ภาระงานในหน้าที่มีมาก เจ้าหน้าที่และผู้นำยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการให้คำปรึกษาแนะนำ และร่วมกันพิจารณาให้ความช่วยเหลือในปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น ด้านการรายงานผลการดำเนินงาน พบว่า การจัดทำรายงานรายชื่อผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับเบี้ยยังชีพ ให้ประชาชนรับทราบไม่ต่อเนื่อง ขาดการประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน งานวิจัยนี้ มีแนวทางในการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงาน ด้านการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ดังนี้ 1) ดำเนินตามระเบียบและแนวทางของการแจกเบี้ยยังชีพ 2) ลดภาระงานของผู้รับผิดชอบ 3) มีการให้เจ้าหน้าที่วางแผนการทำงาน เพื่อจะได้รู้แผนการทำงานอย่างชัดเจนของทุกๆ ปี 4) มอบหมายงานให้เหมาะสมกับความสามารถ 5) การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบโดยทั่วกัน ขอความร่วมมือของผู้นำหมู่บ้านและผู้เกี่ยวข้อง 6) ให้คำปรึกษาแนะนำ และร่วมกันพิจารณาให้ความช่วยเหลือในปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น และ 7) ติดตามและรายงานผลอย่างต่อเนื่องen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์en_US
dc.subjectการดำเนินงานด้านการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุen_US
dc.subjectThe resulten_US
dc.subjectThe elderly cash allowanceen_US
dc.subjectเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุen_US
dc.subjectเทศบาลตำบลบ้านถ้ำen_US
dc.subjectBantam District Municipalityen_US
dc.titleผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานด้านการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยาen_US
dc.title.alternativeThe Result in the Elderly Cash Allowance of Bantam District Municipality in Dok Khamtai District Phayao Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
10Jutamad Kummareaw.pdfJutamad Kummareaw3.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.