กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/528
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อยกมาตรฐานให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น: กรณีศึกษาจังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for Developing and Raising the Standard of the Products under the One Tambon One Product Project: a Case Study of Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เพ็ชรพินิจ, ณัชชา
คำสำคัญ: การคัดสรร OTOP
OTOP
ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
การพัฒนา
OTOP Selection
Development
One Tambon One Product
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1397&doc_type=0&TitleIndex=1
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เพื่อยกระดับมาตรฐานให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น: กรณีศึกษาจังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์ 1 ประการ คือ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เพื่อยกมาตรฐานให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น ประชากรที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ประธานหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ชุมชนเจ้าของรายเดียว จำนวน 18 กลุ่ม แบ่งเป็น อำเภอเมือง 2 กลุ่ม อำเภอแม่ใจ 2 กลุ่ม อำเภอดอกคำใต้ 1 กลุ่ม อำเภอปง 3 กลุ่ม อำเภอเชียงคำ 3 กลุ่ม และอำเภอภูซาง 7 กลุ่ม การศึกษาครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In depth intviews) การวิเคราะห์แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) และแบบองค์รวม (Holistic) ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” เพื่อยกมาตรฐานให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นนั้นมีอยู่ 4 ด้าน ได้แก่ 1) กลุ่มและการบริหารจัดการภายในกลุ่ม โดยกลุ่มจะเป็นกลุ่มมีโครงสร้าง มีการบริหารจัดการกลุ่มประกอบด้วยการผลิต การตลาด การเงินและการบัญชี และการจัดการทรัพยากรบุคคล 2) สมาชิกและการมีส่วนร่วมของสมาชิก โดยกลุ่มจะมีการประชุมกันภายในทุกเดือนเพื่อระดมความคิด และมีการเข้าร่วมการฝึกอบรม การศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาตนเอง และนำความรู้มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม 3) การช่วยเหลือจากภาครัฐ ภาคเอกชน เริ่มตั้งแต่การบริหารจัดการภายในกลุ่มด้านการผลิต การจัดหาวัตถุดิบ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การตลาด ช่องทางการจำหน่าย การตั้งราคา และการบัญชี โดยจะมีการสอนจัดทำบัญชีอย่างง่าย โดยให้สมาชิกในกลุ่มเป็นผู้รับผิดชอบ รวมไปถึงการอบรมเพื่อขอมาตรฐานการรับรองต่าง ๆ เพื่อใช้ในการคัดสรร 4) ผู้นำจะประกอบด้วยลักษณะที่สำคัญ 7 ประการ คือ 1) มีความซื่อสัตย์จริงใจ 2) มีความยืดหยุ่นพร้อมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเสมอ 3) มีการเตรียมพร้อมให้กับตนเองและสมาชิก 4) รักการเรียนรู้ 5) กล้าตัดสินใจ รู้จักที่จะแก้ปัญหา ความขัดแย้ง 6) มีวิสัยทัศน์ 7) การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ แนวการพัฒนาสำหรับผลิตภัณฑ์ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" ที่มีระดับมาตรฐานอยู่ในระดับเท่าเดิม และมาตรฐานที่ลดลงนั้น ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มและการบริหารงานภายในกลุ่ม การเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของสมาชิกการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนในด้านต่าง ๆ และพัฒนาผู้ประกอบการให้มีลักษณะของผู้นำ 7 ประการตามข้างที่กล่าวมา
URI: http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/528
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
15Natcha Pechpinij.pdfNatcha Pechpinij2.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น