Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/524
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุขเกษม, อัมรินทร์-
dc.date.accessioned2020-11-09T08:45:02Z-
dc.date.available2020-11-09T08:45:02Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1260&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://10.209.10.67:8080/handle/123456789/524-
dc.description.abstractงานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของสโมสรฟุตบอลอาชีพ 2) เพื่อศึกษาถึงความต้องการและพฤติกรรมในการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของแฟนคลับสโมสรฟุตบอลอาชีพ 3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของสโมสรฟุตบอลอาชีพ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสม คือ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ แฟนคลับของสโมสรฟุตบอลอาชีพ จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การหาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร (Chi-square test) การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA or f-test) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ มีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 2 กลุ่ม คือ หน่วยงานภาครัฐ จำนวน 1 คน ผู้บริหารของสโมสรฟุตบอลอาชีพ จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 11 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างแล้วทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) แฟนคลับที่เดินทางท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 20–29 ปี มีสถานะโสด การศึกษาสูงสุดในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน 2) พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวส่วนใหญ่เข้าชมการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพของสโมสรฟุตบอลอาชีพมากกว่า 15 ครั้งต่อ 1 ฤดูกาล ทราบข้อมูลโดยสื่ออินเตอร์เน็ต เดินทางมาชมการแข่งขันเนื่องจากนักฟุตบอล ผู้ร่วมเดินทางส่วนใหญ่เป็นเพื่อน เดินทางโดยรถส่วนตัว จะเดินทางวันที่มีการแข่งขัน มีค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาชมการแข่งขันน้อยกว่า 1,000 บาท มีการเดินทางไปท่องเที่ยวในจังหวัดที่มีการแข่งขันเพื่อเป็นการพักผ่อน เลือกเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดที่มีการแข่งขันในวันที่มีการแข่งขัน (ก่อนเวลาการแข่งขัน) และมีการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดใกล้เคียงที่มีการแข่งขัน ในกรณีที่เดินทางท่องเที่ยวจะเลือกใช้บริการที่พักประเภทโรงแรม รีสอร์ท บังกะโล และมีการเข้าร่วมกิจกรรมในระหว่างเดินทางท่องเที่ยวเป็นการซื้อของพื้นเมืองหรือของที่ระลึก 3) ระดับความต้องการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและการท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านอาหารและเครื่องดื่ม ด้านการคมนาคมขนส่ง ด้านสินค้าและของที่ระลึก ด้านที่พัก ด้านธุรกิจท่องเที่ยว ด้านเทศกาลพิเศษและบันเทิง และด้านแหล่งท่องเที่ยว 4) การสัมภาษณ์พบว่าการมีส่วนร่วมในการพัฒนาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของสโมสรฟุตบอลอาชีพนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหารสโมสรเป็นหลัก ผู้บริหารกำหนดนโยบายจากผลงานและความสำเร็จของสโมสร ฐานแฟนคลับของสโมสรและเงินทุนของสโมสร โดยจุดแข็งจะเป็นการคมนาคมสะดวกมีแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง จุดอ่อนจะเป็นการขาดแคลนบุคลากรและเงินทุน ซึ่งสโมสรมีโอกาสประสบความสำเร็จในการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวสูง อุปสรรคได้แก่ ความนิยมของฟุตบอลไทยตกลง ปัญหาเศรษฐกิจ สภาพการจราจรโดยรอบ และโปรแกรมการแข่งขันที่ไม่เอื้ออำนวยในการจัดการท่องเที่ยวของสโมสรมากนักen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectการพัฒนาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงกีฬาen_US
dc.subjectสโมสรฟุตบอลอาชีพen_US
dc.subjectDevelopment of tourism management guidelinesen_US
dc.subjectSport tourismen_US
dc.subjectFootball cluben_US
dc.titleการพัฒนาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของสโมสรฟุตบอลอาชีพen_US
dc.title.alternativeThe Development of Guidelines for Sport Tourism Management of Football Cluben_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
3.Amarin Sukkasem.pdfAmarin Sukkasem2.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.