Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/440
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปิ่นโพธิ์, วิยะวรรณ-
dc.date.accessioned2020-07-30T04:19:26Z-
dc.date.available2020-07-30T04:19:26Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.citationhttp://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1230&doc_type=0&TitleIndex=1en_US
dc.identifier.urihttp://10.209.10.67:8080/handle/123456789/440-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวในตลาดจีนโบราณบ้านชากแง้ว และเพื่อศึกษาศักยภาพและแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนจีนโบราณบ้านชากแง้ว ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในตลาดจีนโบราณบ้านชากแง้ว จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์โดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ในการทดสอบสมมติฐาน จำนวน 2 ข้อ ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ และทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson correlation-coefficient) การวิจัยเชิงคุณภาพประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม จำนวน 12 คน ได้แก่ กลุ่มนักวิชาการ จำนวน 3 คน กลุ่มคนในพื้นที่ จำนวน 3 คน กลุ่มผู้ประกอบการในชุมชน จำนวน 3 คน และกลุ่มนักท่องเที่ยวจำนวน 3 คน โดยเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยวิธีการสัมภาษณ์ ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง โดยการจดบันทึกขณะทำการสัมภาษณ์ และการบันทึกเสียง ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำมาประมวลเป็นผลของการวิจัยต่อไป ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า สถานภาพทั่วไปของนักท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กันกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจีนโบราณบ้านชากแง้ว ด้านความพึงพอใจต่อแหล่งท่องเที่ยว พบว่า สถานภาพทั่วไป ยกเว้นสถานภาพของนักท่องเที่ยวต่างกัน มีความพึงพอใจต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจีนโบราณบ้านชากแง้ว แตกต่างกันทั้ง 7 ด้าน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมาก ด้านศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนจีนโบราณ พบว่า นักท่องเที่ยวมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวตามระดับความคิดเห็นโดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นในเกณฑ์มาก เมื่อวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนา พบว่า ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวต้องการให้มีการปรับขยายพื้นที่ทางเดินให้กว้างขึ้น การเพิ่มจำนวนร้านและความหลากหลายของอาหารที่เน้นเฉพาะเอกลักษณ์ของชุมชนในอดีต ต้องการให้ชุมชนเพิ่มสีสันให้กับตลาดจากกิจกรรมนันทนาการ รวมถึงการจัดแสดงนิทรรศการที่บอกเล่าเรื่องราวถึงความเป็นมาของชุมชนในอดีตถึงปัจจุบันให้ชัดเจนผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า การบริหารจัดการควรได้รับการส่งเสริม ได้แก่ ความเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การฝึกอบรมในการจัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวให้กับบุคลากร การจัดรูปแบบการท่องเที่ยวที่หลากหลาย สร้างมาตรการความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว สร้างการมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึงของคนในชุมชน พัฒนาลักษณะทางกายภาพของแหล่งท่องเที่ยวและคุณภาพการบริการเพิ่มงบประมาณสนับสนุนการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภายในชุมชนen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectการส่งเสริมการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมen_US
dc.subjectชุมชนจีนโบราณบ้านชากแง้วen_US
dc.subjectTourism encouragementen_US
dc.subjectCultural tourismen_US
dc.subjectBan Chak Ngaew Chinese Communityen_US
dc.subjectTourism promotionen_US
dc.subjectChonburi Provinceen_US
dc.subjectจังหวัดชลบุรีen_US
dc.titleการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนจีนโบราณบ้านชากแง้ว อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีen_US
dc.title.alternativeEncouragement for Cultural Tourism in Ban Chak Ngaew Community Banglamung District, Chonburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
26.Wiyawan Pinpho.pdfWiyawan Pinpho2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.