Please use this identifier to cite or link to this item:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/422
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ไชยลังกา, รุจิรา | - |
dc.date.accessioned | 2020-07-17T04:34:36Z | - |
dc.date.available | 2020-07-17T04:34:36Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.citation | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1283&doc_type=0&TitleIndex=1 | en_US |
dc.identifier.uri | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/422 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจากการเมาแล้วขับ ตลอดถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้ เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขปัญหาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เมาแล้วขับ ผนวกกับการวิจัยเอกสารโดยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือ บทความ เอกสารงานวิจัย และบรรดากฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าจากฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า มีมาตรการทางกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจากการเมาแล้วขับ 4 มาตรการและมีสภาพปัญหาดังต่อไปนี้ 1) การเยียวยาด้วยระบบประกันภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งมีจำนวนเงินคุ้มครองที่ไม่ครอบคลุมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น 2) การเยียวยาด้วยการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 2 ลักษณะ 5 ละเมิด ไม่มีการให้สิทธิผู้เสียหายในการเรียกร้องค่าเสียหายทางจิตใจ 3) การเยียวยาความเสียหายตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ไม่มีการกำหนดให้ความผิดฐานขับขี่รถขณะเมาสุราเป็นความผิดที่ผู้เสียหายสามารถยื่นขอรับค่าตอบแทนได้ และมีการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนกำหนดหลักเกณฑ์ในการจำกัดสิทธิผู้เสียหาย และ 4) มาตรการช่วยเหลือการเยียวยาด้วยการคุ้มครองสิทธิทางกระบวนการยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 มีช่องว่างในการเข้าถึงสิทธิ ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขปัญหาของการใช้มาตรการทางกฎหมายในการเยียวยาผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจากการเมาแล้วขับ คือ 1) ควรปรับปรุงขยายวงเงินคุ้มครองเงินเยียวยาความเสียหายในส่วนของค่ารักษาพยาบาลตามจำนวนค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายได้จ่ายจริง และค่าชดเชยกรณีนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 2) ควรมีการกำหนดบทบัญญัติกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ผู้เสียหายสามารถเรียกค่าเสียหายทางจิตใจได้ 3) ควรกำหนดบทบาทหน้าที่ของพนักงานสอบสวนให้เป็นผู้แจ้งสิทธิ์ในการเรียกค่าเสียหายคดีแพ่งไปพร้อมกับการดำเนินคดีอาญาให้แก่ผู้เสียหาย และ 4) ควรแยกการเยียวยาผู้เสียหายเมาแล้วขับออกจากเกณฑ์พิจารณาของพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และให้จัดตั้งกองทุนเยียวยาเหยื่อเมาแล้วขับโดยตราเป็นกฎหมายไว้โดยเฉพาะที่มีรูปแบบที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม | en_US |
dc.description.sponsorship | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยพะเยา | en_US |
dc.subject | การเยียวยา | en_US |
dc.subject | ผู้เสียหาย | en_US |
dc.subject | เมาแล้วขับ | en_US |
dc.subject | Remedies | en_US |
dc.subject | Injured person | en_US |
dc.subject | Drunk driving | en_US |
dc.title | ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยเรื่องการเยียวยาผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจากการเมาแล้วขับ | en_US |
dc.title.alternative | Problems of Law Enforcement Concerning the Remedies for Victims Affected by Drunk Driving | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
26.Rujira Chailangka.pdf | Rujira Chailangka | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.