กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2481
ชื่อเรื่อง: ความหลากหลายทางชีวภาพของตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำในจังหวัดพะเยาและการเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Biodiversity of Trichoptera Larvae in Phayao Province and Its Culture in The Laboratory
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มานนท์, เดช
คำสำคัญ: ตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำ
การเลี้ยง
ห้องปฏิบัติการ
อาหาร
Trichoptera larvae
Rearing
Laboratory
Feed
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
แหล่งอ้างอิง: http://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=2054
บทคัดย่อ: ตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน แต่ยังขาดข้อมูลด้านการเลี้ยงตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำในระดับห้องปฏิบัติการ จึงสำรวจความหลากหลายของตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำที่เหมาะสมต่อการนำมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ โดยเก็บตัวอย่างจากลำธารในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ (ห้วยแม่จุน) และเขตอุทยานแห่งชาติภูซาง (น้ำเปื๋อย, น้ำเปื๋อยส่วนต้น, ห้วยโป่งผา, ห้วยทรายกาด, น้ำญวนส่วนต้น, น้ำญวนห้วยปุ้ม) จังหวัดพะเยา รวม 7 สถานี ช่วงเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนกรกฎาคม 2563 พบตัวอ่อน จำนวน 13 วงศ์ รวม 2,795 ตัว โดยตัวอ่อนในวงศ์ Hydropsychidae พบสูงสุดในทุกสถานีสำรวจ พบตัวอ่อนที่สร้างปลอกหุ้มตัวจากวัสดุตามธรรมชาติ 7 วงศ์ กลุ่มที่สร้างเส้นใยเป็นปลอกหุ้มตัว 5 วงศ์ และกลุ่มที่อยู่อาศัยอิสระ 1 วงศ์ ค่าดัชนีความหลากหลาย ดัชนีความมากชนิด และดัชนีความสม่ำเสมอ ของตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำที่สำรวจ พบสูงสุดที่ห้วยโป่งผา (1.90, 3.50 และ 0.86 ตามลำดับ) และต่ำสุดที่น้ำญวนส่วนต้น (0.93, 2.27 และ 0.48 ตามลำดับ) ตัวอ่อนวงศ์ Odontoceridae ชนิด Marilia sumatrana ถูกคัดเลือกนำมาใช้ศึกษาปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อการเลี้ยงตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำในห้องปฏิบัติการ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 การทดลองย่อย ได้แก่ 1) ศึกษาการเลี้ยงตัวอ่อน M. sumatrana ในสภาวะน้ำไหลและน้ำไม่ไหล ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และอัตรารอดในห้องปฏิบัติการ พบว่า ปลอกของตัวอ่อนที่เลี้ยงในสภาวะน้ำไหล และน้ำไม่ไหล มีความยาวที่เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน (p > 0.05) อัตรารอดของชุดการทดลองที่เลี้ยงในสภาวะน้ำไหลสูงกว่าชุดการทดลองที่เลี้ยงในน้ำไม่ไหลอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) 2) ศึกษาอิทธิพลของอาหารต่างชนิดที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และอัตรารอดของตัวอ่อน M. sumatrana ในห้องปฏิบัติการ พบว่า ตัวอ่อนที่เลี้ยงด้วยอาหารลูกปลาดุกบดละเอียด และอาหารกุ้งบดละเอียดมีความยาวของปลอกที่เพิ่มขึ้นมากกว่าตัวอ่อนที่เลี้ยงด้วยเศษซากใบไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนอัตรารอด พบว่า ไม่แตกต่างกัน (p > 0.05) และ 3) ศึกษาอิทธิพลของอุณหภูมิน้ำที่ต่างกัน (25, 30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิห้อง) ต่อการเจริญเติบโต และอัตรารอดของตัวอ่อน M. sumatrana ในห้องปฏิบัติการ พบว่า ในทั้ง 3 ชุดการทดลองความยาวของปลอกที่เพิ่มขึ้น และอัตรารอดไม่แตกต่างกัน (p > 0.05) สรุปได้ว่าการเลี้ยงตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำชนิด M. sumatrana ในห้องปฏิบัติการควรเลี้ยงในสภาวะน้ำไหล และเลี้ยงด้วยอาหารลูกปลาดุกบดละเอียด ผลการศึกษานี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบการเลี้ยงตัวอ่อนแมลงหนอนปลอกน้ำชนิดอื่น ๆ ต่อไปได้
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2481
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Dej Mann.pdfDej Mann2.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น