กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/245
ชื่อเรื่อง: | การแสวงหาข้อเท็จจริงโดยนำระบบไต่สวนมาใช้ในการพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมของศาลยุติธรรม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Pursuit Facts by Apply Inquisitorial System in the Trial of Environment Case of Courts of Justice |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สิทธินวผล, ประเสริฐ |
คำสำคัญ: | ระบบไต่สวน การพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อม คดีสิ่งแวดล้อม Inquisitorial system The trial of environment case Environment case |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
แหล่งอ้างอิง: | http://tdc.thailis.or.th/tdc/browse.php?option=show&institute_code=191&bib=1182&doc_type=0&TitleIndex=1 |
บทคัดย่อ: | ปัจจุบันประเทศไทยมีศาลพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยตรงอย่างเป็นเอกเทศ ไม่ว่าจะเป็นศาลปกครอง (ศาลปกครองแผนกคดีสิ่งแวดล้อม) ซึ่งพิจารณาพิพากษาคดีที่มีผลเป็นการคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีการแสวงหาข้อเท็จจริงตามระบบไต่สวน และศาลยุติธรรม (ศาลยุติธรรมแผนกคดีสิ่งแวดล้อม) ซึ่งใช้วิธีการแสวงหาข้อเท็จจริงตามระบบกล่าวหา อันสามารถตัดสินและดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้โดยตรง ซึ่งประเทศไทยยังไม่เคยมีมาก่อน ทั้งนี้ คดีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องประโยชน์สาธารณะ อันมีผลต่อส่วนรวมที่มิได้ส่งผล กระทบเฉพาะกับคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเท่านั้น และอาจส่งผลกระทบให้เกิดความเสียหายกับสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศของโลกด้วยปัญหาสิ่งแวดล้อม บางเรื่องอาจไม่สามารถพิจารณาได้จากพยานบุคคลหรือพยานเอกสารเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่ต้องประจักษ์ด้วยสายตาตนเอง หรือต้องอาศัยความรู้ความชำนาญของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ อาทิเช่น ปัญหาสภาพน้ำที่เน่าเสีย ปัญหาในเรื่องกลิ่นรบกวน เป็นต้น ด้วยเหตุดังกล่าว คดีสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเรื่องที่รัฐควรคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ และความมั่นคงของประเทศมากกว่าผลประโยชน์ของปัจเจกชน กระบวนการพิจารณาคดีในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และความผิดของผู้ถูกกล่าวหาเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อมในชั้นศาลยุตธิรรมนั้น จึงมิควรให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในความบริสุทธิ์ และความผิดของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งต้องสงสัยของสาธารณะชน ดังนั้น เราจึงควรแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำระบบไต่สวนมาใช้ในการพิจารณาคดีสิ่งแวดล้อมของศาลยุติธรรม แทนระบบกล่าวหาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นพิเศษแตกต่างจากบทกฎหมายทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวมอันเป็นประโยชน์สาธารณะ และในขณะเดียวกันก็ยังคงให้ความเป็นธรรมแก่ปัจเจกชนตาม เจตนารมณ์ของกฎหมายสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://10.209.10.67:8080/handle/123456789/245 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | ระดับปริญญาโท (Master Degree) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Prasert Sitthinawaphol.pdf | Prasert Sitthinawaphol | 2.34 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น