Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2451
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorจินายะ, วิชาญ-
dc.date.accessioned2023-11-21T02:06:56Z-
dc.date.available2023-11-21T02:06:56Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.citationhttp://202.28.199.150/dcupload_/mainmetadata.php?option=edit&SelectDocType=0&bib=1945en_US
dc.identifier.urihttp://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2451-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย 2) เพื่อเปรียบเทียบการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย จำแนก อายุ เพศ และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครู สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2563 ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 44 คน ข้าราชการครู จำนวน 234 คน รวมทั้งหมด 278 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ผลการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้องได้ 1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติหาค่า (T-test) ใช้การเปรียบเทียบ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ ( Sheffe’s method) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา และด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) การเปรียบเทียบการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงรายจำแนกตามเพศ อายุและประสบการณ์การทำงาน พบว่า ทั้งภาพรวมและรายด้าน มีความแตกต่างกันทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา และด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยพะเยาen_US
dc.subjectปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงen_US
dc.subjectการบริหารจัดการสถานศึกษาen_US
dc.subjectThe philosophy of sufficiency economyen_US
dc.subjectThe school managementen_US
dc.titleการศึกษาสภาพนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงรายen_US
dc.title.alternativeA Study of the State of Applying the Sufficiency Economy Philosophy in the Management of Educational Institutions Under the Local Government Organization in Chiang Rai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:ระดับปริญญาโท (Master Degree)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wichan Jinaya.pdfWichan Jinaya1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.