กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2423
ชื่อเรื่อง: การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในชุมชนรอบกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Ethnobotanical Study in Kwan Phayao Community Areas, Phayao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริวัฒนปรีชา, ณัฐมน
ศรีทอง, บุญพิทักษ์
ภักดีบุรี, สุชานันท์
คำสำคัญ: พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน
พืชอาหาร
พืชสมุนไพร
กว๊านพะเยา
Ethnobotanical
Food plants
Medicinal plants
Kwan Phayao
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยพะเยา
บทคัดย่อ: การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในชุมชนรอบกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ทำการศึกษา ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2563 โดยทำการสำรวจในพื้นที่ตลาดชุมชนรอบกว๊านพะเยา 5 ตลาด ดังนี้ ตลาดบ้านแม่ใส ตลาดบ้านบัว ตลาดบ้านตุ่น ตลาดบ้านสาง และตลาดบ้านสันบัวบก มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความหลากหลาย และรวบรวมข้อมูล การใช้ประโยชน์ทางพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในชุมชนรอบกว๊านพะเยา โดยการสัมภาษณ์แบบกึ่ง โครงสร้างกับหมอพื้นบ้าน จำนวน 3 คน และใช้แบบสอบถามการใช้ประโยชน์พฤกษศาสตร์ พื้นบ้านกับชาวบ้าน จำนวน 50 คน พบพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ทั้งหมด 36 วงศ์ 78 สกุล และ 99 ชนิด วงศ์ที่พบมากที่สุด ได่แก่ วงศ์ Fabaceae (วงศ์ถั่ว) จำนวน 12 ชนิด (12.12%) รองลงมา ได้แก่ วงศ์ Solanaceae (วงศ์มะเขือ) วงศ์ Cucurbitaceae (วงศ์แตง) และวงศ์ Euphorbiaceae (วงศ์ยางพารา) ซึ่งแต่ละวงศ์มีจำนวน 7 ชนิด (7.07%) จำแนกตามลักษณะวิสัยเป็น ไม้ล้มลุก จำนวน 46 ชนิด (46.5%) ไม้เลื้อย จำนวน 19 ชนิด (19.2%) ไม้พุ่ม จำนวน 18 ชนิด (18.2%) ไม้ยืนต้น จำนวน 12 ชนิด (12.1%) ไม้รอเลื้อย จำนวน 3 ชนิด (3.03%) และเฟิร์น จำนวน 1 ชนิด (1.01%) จำแนกประเภทของพืชตามการใช้ประโยชน์ 2 ประเภท ได้แก่ พืชสมุนไพร จำนวน 99 ชนิด และพืชอาหาร จำนวน 86 ชนิด ส่วนของพืชที่มีการนำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด ได้แก่ ใบ จำนวน 72 ชนิด (20.45%) รองลงมา คือ ราก จำนวน 56 ชนิด (15.91%) ยอด จำนวน 47 ชนิด (13.4%) ผล จำนวน 39 ชนิด (11.08%) ดอก จำนวน 37 ชนิด (10.5%) ลำต้น จำนวน 33 ชนิด (9.38%) ทั้งต้น จำนวน 24 ชนิด (6.82%) เมล็ด จำนวน 22 ชนิด (6.25%) เปลือก จำนวน 7 ชนิด (1.99%) หัวเหง้า และอื่น ๆ ซึ่งแต่ละส่วนมีจำนวน 5 ชนิด (1.42%) ตามลำดับ พืชที่มีค่าดัชนีความสำคัญของพืช (CI) สูงที่สุด ได้แก่ ใบบัวบก (Centella asiatica (L.) Urb.) รองลงมา คือ ตะไคร้ (Cymbopogon citratus Stapf) ข่า (Alpinia galanga (L.) Willd.) ขิง (Zingiber officinale Roscoe) และมะกรูด (Citrus hystrix DC.) ซึ่งมีค่า CI เท่ากับ 1.42 1.32 1.24 1.22 และ 1.22 ตามลำดับ
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2423
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:คณะวิทยาศาสตร์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
ติดต่อ เจ้าหน้าที่งานคลังข้อมูลเพื่อการวิจัย.pdfcontact49.47 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น