กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2410
ชื่อเรื่อง: | การวัดสัณฐานแบบมาตรฐานและเรขาคณิตของปีกผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera) และ ผึ้งโพรง (Apis cerana) ในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Standard and Geometric Morphometric of Apis Mellifera and Apis Cerana Wing in Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เป็งสุธรรม, ฐนิต วงศ์ปา, ปภาวรินทร์ |
คำสำคัญ: | ผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง การระบุชนิด การวัดสัณฐานแบบมาตรฐาน การวัดสัณฐานทางเรขาคณิต Apis mellifera Apis cerana Identification Standard morphometric Geometric morphometric |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยพะเยา |
บทคัดย่อ: | ผึ้งพันธุ์ (Apis mellifera) และผึ้งโพรง (Apis cerana) เป็นผึ้งที่นิยมนำมาใส่กล่องเพื่อการเลี้ยงผึ้งในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ทำการตรวจสอบความผันแปรของปีกโดยใช้การวัดสัณฐานแบบมาตรฐาน 16 ลักษณะ และการวัดสัณฐานทางเรขาคณิตจากการกำหนดจุดบ่งชี้ 18 ตำแหน่ง วัตถุประสงค์ เพื่อการระบุชนิด ชนิดย่อย และประชากรของผึ้งเหล่านี้ โดยใช้ตัวอย่างผึ้งพันธุ์ จำนวน 56 รัง 560 ตัวอย่าง (n=56, s=560) และผึ้งโพรงจีน (A. c. cerana) n=29, s=185 จากเมืองฝูโจว n= 20, s=97 และเมืองกว่างโจว n= 9, s=88 และผึ้งโพรงไทย (A. c. indica) n=56, s=516 ซึ่งตัวอย่างประชากรทางเหนือ n=20, s=172 และทางภาคใต้ n=36, s=344 ผลการวัดสัณฐานแบบมาตรฐานแสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยลักษณะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (P≤ 0.05) ยกเว้นค่าการวัดของตะขอเกี่ยวปีก (HA และ HAL) และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มของผึ้งในระดับชนิดได้ถูกต้องร้อยละ 100.00 เช่นเดียวกับการวัดสัณฐานทางเรขาคณิต การระบุชนิดย่อยของผึ้งพันธุ์แสดงค่าร้อยละการจำแนกกลุ่มจากค่าการวัดสัณฐานแบบมาตรฐานเท่ากับ 43.9 ซึ่งมีค่าร้อยละของการจำแนกกลุ่มสูงกว่าผลจากการวัดสัณฐานทางเรขาคณิตที่มีค่าร้อยละ 56.3 มากกว่านี้ค่าดัชนีคูบิทอล (CI) ความยาว (FWL, HWL) ความกว้าง (FWW, HWW) ของปีกหน้าและปีกหลังใช้ในการจำแนกชนิดย่อยผึ้งพันธุ์ 3 ชนิดย่อย ได้แก่ A. m. syriaca A. m. ligustica และ A. m. syriaca ส่วนผลการจำแนกกลุ่มจากค่าการวัดสัณฐานทั้งสองวิธีในผึ้งโพรง แสดงให้เห็นถึงการระบุชนิดย่อยของผึ้งโพรงจีนและผึ้งโพรงไทยได้ถูกต้องร้อยละ 96.4 และ 84.7 มุ่งเน้นไปที่การจำแนกกลุ่มของผึ้งโพรงไทยประชากรเหนือและใต้ ซึ่งแยกกันที่บริเวณคอคอดกระ แสดงค่าความถูกต้องไว้ที่ร้อยละ 77.5 และ 77.7 จากวิธีที่ต่างกัน นอกจากนี้การจำแนกกลุ่มของรังของผึ้งโพรงใต้ที่เก็บตัวอย่างซ้ำ 3 ครั้ง มีค่าความถูกต้องร้อยละ 20.5 และ 56.3 ตามลำดับ การศึกษานี้สรุปได้ว่า วิธีการวัดสัณฐานแบบมาตรฐานบนปีกทั้งสองวิธีมีประสิทธิภาพในการระบุความผันแปรของผึ้งรวงในระดับชนิด และชนิดย่อยได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ทั้งสองวิธีสามารถนำไปใช้ในการตรวจสอบรูปแบบความแปรผันของประชากรลูกผสมของ A. c. indica กลุ่มประชากรเหนือและใต้ได้ |
URI: | http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2410 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | คณะวิทยาศาสตร์ |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
ติดต่อ เจ้าหน้าที่งานคลังข้อมูลเพื่อการวิจัย.pdf | contact | 49.47 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น