Please use this identifier to cite or link to this item: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2402
Title: การกำจัดสีย้อม Direct Blue 3 ด้วยแบคทีเรียจากรากกกลังกา (Cyperus alternifolius) และธูปฤาษี (Typha angustifolia L.)
Other Titles: Removal of Direct Blue 3 by Rhizosphere Bacteria from Cyperus Alternifolius and Typha Angustifolia L
Authors: ภาดี, ภาวิตา
Keywords: แบคทีเรียรากพืช
การกำจัดสี
สีย้อม
น้ำเสียสังเคราะห์สิ่งทอ
Rhizosphere bacteria
Decolorization
Dyes
Textile wastewaters
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยพะเยา
Abstract: กระบวนการบำบัดทางชีวภาพเป็นการอาศัยจุลินทรีย์และพืชในการย่อยสลายสารอินทรีย์และสารอินทรีย์ที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำทิ้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการใช้แบคทีเรียในการย่อยสลาย ในการศึกษาอิสระครั้งนี้ จึงคัดแยกแบคทีเรียจากบริเวณผิวรากและในรากของพืช 2 ชนิด ได้แก่ ต้นธูปฤาษี (Typha angustifolia L.) และต้นกกลังกา (Cyperus alternifolius) โดยคัดแยกแบคทีเรียบนอาหารแข็ง ( Nutrient : NA ) ได้ทั้งหมด 7 ไอโซเลท จากนั้นนำแบคทีเรียทั้งหมดไปทดสอบการกำจัดสีย้อม direct blue 3 ที่ความเข้มข้น 30 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 7 พบว่า แบคทีเรียไอโซเลท U10 มีความสามารถในการกำจัดสีได้ดีที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41.23 จึงทำการทดสอบต่อเพื่อหาปัจจัยต่าง ๆ ที่เหมาะสม ดังนี้ แหล่งคาร์บอน (กลูโคส, ซูโครส, แป้งมันสำปะหลัง) แหล่งไนโตรเจน (แอมโมเนียมซัลเฟต, แอมโมเนียมคลอไรด์, โปแทสเซียมไนเตรท) ค่าความเป็นกรดด่าง (7, 8, 9, 10) และอุณหภูมิ (25, 30, 35, 40 องศาเซลเซียส) สรุปได้ว่า ภายใต้การใช้กลูโคสและโปแตสเซียมไนเตรท เป็นแหล่งคาร์บอนและแหล่งไนโตรเจนที่เหมาะสม และค่าความเป็นกรดด่างเท่ากับ 9 ที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ เมื่อทดสอบประสิทธิภาพการกำจัดสีย้อมที่ความเข้มข้น 35 70 105 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยแบคทีเรียไอโซเลท U10 พบว่า มีการกำจัดสีย้อม คิดเป็นร้อยละ 76.72, 62.74 และ 51.13 ตามลำดับ
URI: http://www.updc.clm.up.ac.th//handle/123456789/2402
Appears in Collections:คณะวิทยาศาสตร์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.